คอนเซ็ปต์รถกระบะ Tesla ในมุมมองของ Emre Husmen
หลังจากที่มีการเผยเบื้องต้นในช่วงกลางปี 2018 ถึงการเปิดตัวรถกระบะของ Tesla นั้น จวบจนถึงปัจจุบัน Elon Musk ได้ปล่อยภาพตัวอย่างของ “Model P” เพียงภาพเดียวมาให้ได้ชมกัน ในระหว่างนั้นนักออกแบบชาวตุรกี Emre Husmen ได้ออกแบบคอนเซ็ปต์ของรถดังกล่าวในมุมมองของตนเอง ซึ่งนอกจากลักษณะที่ดูล้ำสมัยและเป็นประกาย อันเป็นที่ติดตาของแบรนด์ Tesla แล้วนั้น ดีไซน์ยังสื่อถึงความดุดันทรงพลังอีกด้วย
คอนเซ็ปต์รถกระบะ Tesla จาก Emre Husmen นั้น ประกอบด้วยกันชนหน้าที่มีลักษณะเฉพาะของแบรนด์, กระจังหน้าพร้อมไฟ LED ทั้งสองข้าง และตัวรถภายนอกที่ดูล้ำสมัยไปถึงเอวรถ เพื่อคงความสง่างามแบบหมดจด ขณะที่ด้านท้ายใช้รูปแบบเหลี่ยมตัด เพื่อให้สอดรับกับไฟท้ายยาวที่เป็นเอกลักษณ์
ทั้งนี้ที่ผ่านมา...
ICE FORMATION โปรเจกต์ออกแบบศูนย์วิจัยและท่องเที่ยวขั้วโลกใต้สุดโมเดิร์น ที่ใช้รูปร่างน้ำแข็งเป็นต้นแบบ
ช่วงนี้ข่าวการออกแบบสร้างอาณานิคมมนุษย์ในต่างดาวกำลังมาแรงทั้งดวงจันทร์ ทั้งดาวอังคาร แต่จริง ๆ แล้วไม่ต้องเดินทางนั่งจรวดให้เปลืองเงินเปลืองทอง บนโลกสีน้ำเงินครามใบที่เรากำลังเหยียบอยู่ตอนนี้ก็ยังมีหลายพื้นที่ที่มนุษย์ยังไม่เคยไปตั้งรกรากอยู่กันอีกหลายแห่ง ด้วยเหตุผลอุปสรรคจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งทรัพยากรและสภาพแวดล้อม
เราเคยลองจินตนาการดูไหมว่า ถ้าจะมีสถาปัตยกรรมสักแห่งตั้งอยู่แถวขั้วโลกใต้ ดินแดนหนาวที่ขาวโพลนคลุมด้วยภูเขาน้ำแข็งจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร Sergiu-Radu Pop นักศึกษาจากสตูดิโอของ Zaha Hadid จากมหาวิทยาลัยศิลปะประยุกต์ที่เวียนนา ประเทศออสเตรีย ออกแบบโปรเจกต์บุกขอบโลกอย่างขั้วโลกใต้ พัฒนาพื้นที่บริเวณแนวชายฝั่งด้วยการออกแบบแนว Biomimicry หรือการเลียนแบบสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติเพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
คนที่อยู่นอกวงการการออกแบบอาจจะงงว่าแนว Biomimicry คืออะไร เราอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า Biomimicry มีต้นกำเนิดมาจากภาษากรีกคำว่า 'Bios' เเปลว่า ‘ชีวิต’ และ 'Mimic'...
เด็กลาดกระบังฯ โชว์นวัตกรรมกว่า 400 ผลงาน พร้อมอวดสุดยอดไฮไลท์ในงาน KMITL Engineering Project Day 2019
นักศึกษา สจล. โชว์ผลงานสุดยอดนวัตกรรมสิ่งแวดล้อม และนวัตกรรมอัจฉริยะสายสุขภาพ อาทิ การลดการไหลของน้ำในดิน เครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแบบไม่สัมผัสร่างกาย ระบบการจัดการวันเก็บเกี่ยวทุเรียนบนสมาร์ทโฟน ด้านอธิการบดี เปิดแนวคิดวิศวกรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ดันพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและดิจิทัล ทันการเปลี่ยนแปลงเทรนด์เทคโนโลยีโลก
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ สจล. โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้จัดโครงการผลงานด้านวิศวกรรม ประจำปี 2562 หรือ “KMITL Engineering Project Day 2019” งานแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์จากฝีมือนักศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ ใน 20 สาขาวิชา กว่า 400 ผลงาน พร้อมไฮไลท์สุดยอดผลงานด้านนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม และนวัตกรรมอัจฉริยะสายสุขภาพ อาทิ...
ARTchitecture ศิลปะแห่งสีสันของสถาปัตยกรรมในโลกแห่งความจริง
คุมโทน มีอยู่จริงหรือไม่ในโลกของสถาปัตยกรรม? ถึงแม้หลายคนมักจะมองว่าการเลือกสีสันที่จัดจ้าน มันข่มความสวยงามของสถาปัตยกรรมให้ดรอปลง ทั้งคอนเซ็ปต์และภูมิทัศน์ แต่ข้อจำกัดนี้ไม่เป็นอุปสรรคของสถาปนิกเสมอไป เพราะความจริงมีหลายโทนสีทีเรานำมาฝากในวันนี้เป็นสีที่ไม่ค่อยคุ้นสำหรับทาในอาคารบ้านเรา แต่มันก็ยังสวยลงตัวเมื่อฉาบอยู่บนอาคารเหล่านั้น แถมบางแห่งก็ยังดูโมเดิร์นมากขึ้นด้วยจากสีสันเหล่านั้น
ชาว BuilderNews คนไหนอยากจะเติมสีสันให้อาคารอาร์ตขึ้น ลองมาดูกัน ไม่แน่ว่าสีที่อยู่ในใจของคุณอาจจะเป็นสีเดียวกับที่เรานำมาฝากก็ได้ เผื่อคุณจะได้เติมความกล้าเอามันไปใช้ให้เห็นในชีวิตจริงมากขึ้น
Industrial Orange
สีแสดสดใส ใช้ไม่ง่ายแต่ลงตัวกับงานแนว Industrial เป็นสีแรกที่เรานำมาฝาก ส่วนสถานที่สวย ๆ ที่เลือกสีนี้ก็ไม่ใช่ที่ไม่คุ้นหน้าคุ้นตาที่ไหน แต่เป็นผลงานรีโนเวทของ studio Jakob + Macfarlane Architects ที่นำไปใช้กับงานบูรณะท่าเรือ Lyon ประเทศฝรั่งเศส โดยวางคอนเซ็ปต์งานที่ต้องการเปลี่ยนแปลงภาพภูมิทัศน์เดิมและบรรยากาศเดิม ๆ ที่เต็มด้วยโกดังกับปั้นจั่น นำมาผสมผสานให้ลงตัวแต่ให้กลิ่นอายความทันสมัยกว่าเดิม...
เยอรมนีโชว์งานสถาปัตยกรรมพาวิลเลี่ยนไฟเบอร์คอมโพสิทด้วยหุ่นยนต์
สถาบันออกแบบและก่อสร้างเชิงคอมพิวเตอร์ (ICD) ร่วมกับสถาบันโครงสร้างอาคารและการออกแบบโครงสร้าง(ITKE) จากมหาวิทยาลัยสตุ๊ดการ์ต ประเทศเยอรมนี ออกแบบและสร้างสรรค์พาวิลเวียนด้วยไฟเบอร์คอมโพสิทชั้นสูง ในสวนที่เมือง Heilbronn ซึ่งเป็นการรวมเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์กับหลักการก่อสร้างเชิงธรรมชาติเข้าด้วยกัน
BUGA Fibre Pavilion ถูกสร้างโดยการวิจัยด้านสถาปัตยกรรมเลียนแบบธรรมชาติ ซึ่งโครงสร้างรับน้ำหนักถูกสร้างด้วยหุ่นยนต์ และใช้เพียงไฟเบอร์คอมโพสิทชั้นสูงเท่านั้น ผลที่ได้นอกจากจะเป็นเรื่องของน้ำหนักที่เบาแล้ว ยังช่วยเสริมความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะทางสถาปัตยกรรมอีกด้วย
ทีมออกแบบให้ข้อมูลว่าในทางชีววิทยาโครงสร้างที่รับน้ำหนักได้มากที่สุดคือไฟเบอร์คอมโพสิท ซึ่งตัวอย่างของพาวิลเลียนนี้เกิดจากองค์ประกอบของเซลลูโลส, ไคทินหรือโปรตีนคอลลาเจน และวัสดุเนื้อหลัก ซึ่งทำให้มีคุณสมบัติร่วมกัน โดยทีมออกแบบหวังให้พาวิลเลียนนี้ถ่ายทอดหลักการทางชีววิทยาด้านระบบไฟเบอร์คอมโพสิทให้กับงานสถาปัตยกรรมต่อไป
เนื้อหาและที่มาจาก: https://www.designboom.com/architecture/buga-fibre-pavilion-robotically-produced-fiber-composites-icd-itke-stuttgart-04-17-2019/
Chiharu Shiota โชว์ศิลปะจัดวาง “Beyond Memory” ที่เบอร์ลิน
ในนิทรรศการศิลปะงานหัตถกรรมและงานทำมือ ซึ่งจะมีขึ้นจนถึงวันที่ 16 มิ.ย.ที่ Gropius Bau ในกรุงเบอร์ลิน ซึ่งจัดแสดงโดยแนวความคิด “And Berlin will always need you” นั้น หนึ่งในศิลปะจัดวางที่โดดเด่นและเป็นจุดสนใจบริเวณโถงอาคาร เป็นผลงาน “Beyond Memory” ของ Chiharu Shiota ศิลปินชาวญี่ปุ่นผู้มากประสบการณ์ด้านศิลปะจัดวาง
Chiharu บรรยายถึงผลงานชิ้นนี้ว่าเป็นเสมือนกลุ่มเมฆหมอกของความคิด, ความเชื่อมโยง ซึ่งผูกมัดอดีตและอนาคตของผู้ชมไว้ด้วยกัน โดยงานศิลปะดังกล่าวสามารถมองได้จากสองด้าน ทั้งจากพื้นอาคารมองขึ้นไปด้านบน และจากระเบียงชั้นบนมองออกไปด้านนอก ชิ้นงานถูกออกแบบโดยการผสมผสานระหว่างกระดาษที่มีรูปภาพขาวดำ, ใบปลิว, กระดาษจากหนังสือ เข้ากับวัสดุกับประเภทผ้าและด้ายขาว เพื่อสร้างความรู้สึกของเวลาที่เป็นนิรันดร์
เนื้อหาและที่มาจาก:...
ล้ำไปอีกขั้น Duravit ผลิต “Smart Bathroom” นำนวัตกรรมด้านวัสดุมาใช้สร้างคอลเลคชันห้องน้ำไฮเทค ที่สะอาดเนี้ยบอนามัยเกินใคร
เรายืนยันว่าเรื่องห้องน้ำไม่เคยเป็นเรื่องเล่น ๆ และวงการการออกแบบสุขภัณฑ์ก็ไม่ใช่สายชิลที่คิดจะทำแค่อ่างหรือก๊อกน้ำที่เน้นความสวยงามไปวัน ๆ ออกลูกเล่นใช้กลยุทธ์นำนักออกแบบชื่อดังเข้ามาล่อให้คนสนใจเพียงอย่างเดียว เพราะแบรนด์เบอร์ใหญ่ ๆ มักหาโจทย์ใหม่ขึ้นมาท้าทายอยู่เสมอ
เช่นเดียวกันกับ Duravit หนึ่งในแบรนด์ด้านสุขภัณฑ์ระดับตำนานจากฟากเยอรมนีที่ล่าสุดได้ลุกขึ้นมาออกแบบ “Smart Bathroom” คอลเลคชันห้องน้ำที่ใช้จุดขายเรียกแขกด้วยเรื่องสุขอนามัย นำเข้ามารวมกับความทันสมัย เพราะห้องน้ำเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคที่เกิดจากการทำกิจกรรมของเรา ส่วนการใช้งานนับวันก็ต้องยิ่งสะดวกเหมาะสมมากขึ้น เนื่องจากวันนี้เราต้องการให้ทุกพื้นที่บ้านตอบโจทย์ด้านไลฟ์สไตล์ให้มากที่สุด ไม่เว้นแม้แต่ห้องที่เราไม่ได้เข้าไปนั่งไปนอนอย่างห้องน้ำ
ใครที่สนใจด้านวัสดุ ถ้าอยากรู้ว่าเรื่องอนามัยและความไฮเทคจะเข้าไปเอี่ยวกับเรื่องสุขภัณฑ์ได้ทางไหนบ้าง วันนี้ BuilderNews นำมาฝากให้อ่านกับแบบเน้น ๆ ด้านล่างแล้ว
Duravit กับภารกิจห้องน้ำที่ยาวนานกว่า 2 ศตวรรษ
Duravit คือบริษัทของผู้ผลิตวัสดุด้านสุขภัณฑ์ที่มีอายุยาวนานและใหญ่ที่สุดในโลก ก่อตั้งในปี 1817 ประเทศเยอรมนี มีวัตถุประสงค์การสร้างห้องน้ำแบบองค์รวมที่ครอบคลุมเหมาะสมกับผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อม นำเสนอผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับห้องน้ำแบ่งออกเป็น 4...
ต้นแบบรถสาธารณะ นวัตกรรมเพื่อเมืองอัจฉริยะจากเกาหลี
บริษัทจากประเทศเกาหลี KLIO design เผยโฉม WITH:US ต้นแบบรถสาธารณะขับเคลื่อนอัตโนมัติ ซึ่งรวมสามแนวความคิดทั้งความเรียบง่าย, การอยู่อาศัย และการขยายออก เข้าด้วยด้วย เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของเมืองอัจฉริยะในอนาคต โดยเปิดตัวครั้งแรกในงาน Seoul Motor Show 2019 พร้อมดีโซน์ที่สื่อถึงระบบขนส่งที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและคนทุกช่วงวัย
KLIO มุ่งเน้นการออกแบบไปที่สไตล์และความเรียบง่าย แทนที่การใช้ดีไซน์ที่ดึงดูและโฉบเฉี่ยว และด้วยแนวคิดเรื่องการอยู่อาศัย รถสาธารณะขับเคลื่อนอัตโนมัตินี้จึงไม่มีที่นั่งสำหรับคนขับ โดยพื้นที่ภายในห้องโดยสารถูกออกแบบให้เป็นเหมือนห้องนั่งเล่น เสมือนกับการสร้างบ้านบนระบบเครื่องยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้การออกแบบให้มีความสมมาตรในทุกมิติ ยังช่วยสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้โดยสารทุกคนอย่างเท่าเทียม
นอกจากนี้แนวคิดเรื่องการขยายออก ยังทำให้ WITH:US รถสาธารณะขับเคลื่อนอัตโนมัตินี้ ไม่เป็นเพียงแค่ยานพาหนะ แต่สื่อถึงระบบการเคลื่อนที่ของโลจิสติกส์, ทรัพยากร, การบริการ และการเชื่อมโยงชีวิตของบุคคลเข้าด้วยกัน เพื่อเข้าถึงความต้องการที่หลากหลายของสังคมในอนาคต
เนื้อหาและที่มาจาก...
จากรถบัสโบราณสู่รถไฟฟ้า โดย Mizzi Studio
รถบัสโบราณในประเทศมอลตา ซึ่งเป็นเกาะขนาดเล็กในยุโรป ได้เคยเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวมากว่าครึ่งศตวรรษ ด้วยรูปทรงที่เป็นเอกลักษณ์ จนกระทั่งปี 2011 ที่ถูกยกเลิกการใช้งานเนื่องจากไม่ได้มาตรฐานการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ของสหภาพยุโรป
ล่าสุด Mizzi Studio บริษัทออกแบบที่มีออฟฟิศอยู่ทั้งในลอนดอนและมอลตา ได้เผยแผนการออกแบบที่จะนำรถบัสโบราณนี้กลับมาอีกครั้งในรูปแบบยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อมอบทั้งประสบการณ์ในการเดินทางที่ดีแก่ผู้โดยสารและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งดีไซน์ใหม่นี้จะถูกเผยโฉมในงานนิทรรศการที่อาคารรัฐสภา เมืองวัลเลตตา ในเดือน มิ.ย. ปี 2019
Mizzi Studio ค้นหาคุณลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นที่สุดของรถบัสโบราณนี้ และนำมาใช้กับแชสซีส์แบบใหม่ ซึ่งทำให้มีทั้งมุมมองที่กว้างขึ้นด้วยกระจกขนาดใหญ่ด้านหน้า, ระบบปรับอากาศ และประตูกลางเพื่ออำนวยความสะดวกในการขึ้น-ลงรถโดยสาร
เนื้อหาและที่มาจาก: https://www.designboom.com/design/mizzi-studio-electric-comeback-beloved-malta-bus-04-02-2019/
Notre Dame Cathedral มหาวิหารโกธิคอายุ 800 กว่าปีที่โดนไฟไหม้ ความสูญเสียครั้งสำคัญของโลก
เชื่อว่าข่าวเมื่อวานนี้น่าจะทำให้สถาปนิกและคนทั่วโลกต้องใจหายแวบและอาจเสียน้ำตา เพราะหลายคนปักหมุดในสถานที่อย่าง Notre Dame Cathedral หรือที่เรารู้จักคุ้นปากในชื่อมหาวิหารนอเทรอดามเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ต้องไปเยือนสักครั้งในชีวิต เพื่อดูผลงานที่ยิ่งใหญ่ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปี 1991 และยืนยงมายาวนานหลายศตวรรษของฝรั่งเศสแห่งนี้
ข่าวมหาวิหารไฟไหม้ดังขึ้นและกลายเป็น Breaking News ที่ทุกสื่อให้ความสนใจ หลายสื่อมีคลิปวิดีโอไฟลุกท่วมมหาวิหารจนสามารถเห็นนาทีที่ยอดวิหารหักโค่นลงมาอย่างน่าสลดใจ แม้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเกิดจากอะไร แต่ก็มีหนึ่งในข้อสันนิษฐานที่กล่าวว่า น่าจะมาจากการบูรณะ แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศสยืนยันว่าจะซ่อมแซมและขอความร่วมมือจากนานาประเทศเพื่อซ่อมแซมในครั้งนี้
Photo by travelcaffeine.com
BuilderNews วันนี้จึงขอนำเสนอบทความเฉพาะกิจ เพื่อให้ทุกคนได้ซึมซับวันวานแห่นอเทรอดามเคยสวยงามจนบางคนอาจต้องหลั่งน้ำตาจากความเสียหายในครั้งนี้ และเพื่อให้คนที่ไม่เคยได้สัมผัสกับมหาวิหารแห่งนี้มาก่อน ได้รับรู้เรื่องราวร่วมกัน
มหาวิหารแห่งตำนาน
ตำนานของมหาวิหารนอเทรอดามคืออัศจรรย์ของการสร้างสิ่งปลูกสร้างที่สูงครองตำแหน่งสถาปัตยกรรมที่สูงที่สุดในปารีสมานานหลายปี โดดเด่นเรื่องความออกแบบภายในที่สวยงาม คงความประณีต โดยกล่าวกันว่ากว่าจะสร้างเสร็จทั้งมหาวิหารนี้ ต้องใช้เวลากึ่งหนึ่งจากอายุของมันคือ 200 ปีในการสร้างเชียว!
Timeline การสร้างมหาวิหาร
ค.ศ....
ส่อง 6 เทรนด์ออกแบบแสงมาแรง เพราะแสงจากไฟฟ้ามีเสน่ห์มากกว่าแค่ติดตั้งหลอดรางยาว
การออกแบบบ้านไม่ใช่แค่การดูตำแหน่งทิศทางของแสงและช่องอากาศเท่านั้น แต่ส่วนประกอบสำคัญอย่างสิ่งประดิษฐ์ให้แสงยามค่ำคืนที่แม้เราจะปิดเมื่อไม่ต้องการ ก็ยังเห็นตลอดเวลาอย่างหลอดไฟนั้นมีความสำคัญไม่แพ้ส่วนประกอบอื่น ๆ ของบ้าน ลองนึกถึงภาพบ้านสักหลังที่ได้รับการดีไซน์มาเป็นมอย่างดีแต่มาตกม้าตายเพราะโคมไฟ หรือหลอดไฟที่วางผิดที่ผิดทาง ไม่ได้เข้ากันเลย ดูแล้วมันไม่ส่งเสริมตัวบ้านเลยสักนิดเลย ว่าไหม?
วันนี้ BuilderNews จึงนำดีไซน์ออกแบบโคมไฟจากต่างแดนที่กำลังอยู่ในเทรนด์การออกแบบไฟมาให้ดูกัน หลายงานสวย เนี้ยบตั้งแต่รูปทรง แต่อีกหลายงานเราเชื่อว่าใครที่อยู่สายอีเวนต์จะได้แรงบันดาลใจไปตกแต่งกันมากขึ้น เพราะบางสเกลดูแล้วเหมาะกับสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่และมีหวือหวาอย่างห้างสรรพสินค้าหรือพิพิธภัณฑ์มาก
Chain Reaction
ผลงานหลอดไฟกลม 144 ดวง ของ Studio Stallinga ในพิพิธภัณฑ์ Stedelijk พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ศิลปะร่วมสมัยและการออกแบบที่ตั้งอยู่ในอัมสเตอร์ดัมประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่จัดวางเรียงต่อกันเป็นห่วงโซ่ โดยแต่ละดวงจะเรืองแสงสว่างไม่เท่ากัน เริ่มต้นจากความเข้มแสงเรืองอ่อน ๆ ไปถึงแสงจ้า สร้างมิติเคลื่อนไหวจากกลไกเลื่อนขึ้นลงและความเข้มอ่อนของแสงที่ปรากฏต่อสายตา ทำให้งานออกมาเป็นผลงานศิลปะน่าตื่นตาตื่นใจสำหรับผู้พบเห็น
ไม่เพียงความสวยงามที่ทำให้ไฟลุกขึ้นมาร่ายระบำต่อสายตาเราอย่างในคลิปตัวอย่างเท่านั้น แต่แนวคิดการออกแบบของดีไซเนอร์ที่วางตำแหน่งความลาดชัน 23.4...
Kisho Kurokawa สถาปนิกเจ้าของ Nakagin Capsule Tower แลนด์มาร์กญี่ปุ่นสุดพิสดาร สร้างแกนอาคาร ถอด-ใส่ ห้องได้ตามใจ
คอนเซ็ปต์การออกแบบงานแทบทุกชิ้นสไตล์ญี่ปุ่นในปัจจุบัน เน้นความกลมกลืนกับธรรมชาติเป็นหลัก มากกว่าการออกแบบให้ทุกอย่างดูฟูฟ่า และเทคนิคหนึ่งในเรามักเห็นจากภูมิปัญญาทางความคิดของญี่ปุ่นคือการสร้างกลไกของสิ่งของต่าง ๆ ทำให้ผลงานของญี่ปุ่นจึงมักสร้างความตื่นตาตื่นใจให้เราเสมอ
ถึงแม้เราจะเคยได้ยินมาว่า บ้านไทยโบราณไม่มีการใช้ตะปู แต่ใช้การเข้าลิ่ม ทำให้สามารถถอดไม้กระดานของบ้านแต่ละชิ้นแยกจากกันได้และขนย้ายไปประกอบที่อื่นเหมือนการประกอบเลโก้ขึ้นใหม่ ทว่านอกจากบ้านเรา ใครจะรู้ว่าสถาปนิกญี่ปุ่นเขาจะใช้แนวความคิดเรื่องกลไก ถอด-ใส่ นี้กับสถาปัตยกรรม ที่สำคัญยังเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความสูงถึง 13 ชั้นด้วย
BuilderNews ขอเปิดหูเปิดตาทุกท่านด้วยการนำไปชมสถาปัตยกรรมที่นำแนวคิดที่น่าสนใจจากคุณสมบัติเอกลักษณ์ของวัสดุอย่าง “สลักลิ่ม” ที่สามารถถอดเข้าออกมารวมกับแนวคิดการรีไซเคิลอาคารด้วยแนวการออกแบบสไตล์ Metabolism จากศิลปินญี่ปุ่นชื่อดังมาแบ่งปันกัน แต่จะมีอะไรบ้างนั้นลองไปดูพร้อม ๆ กัน
Kisho Kurokawa’s Style
Photo via dilandm.wordpress.com
Kisho Kurokawa คือสถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่เกิดในปี 1934 เขาคือสถาปนิกมากพรสวรรค์ที่หาตัวจับได้ยากและเป็นผู้บุกเบิกแนวคิดการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า Metabolism ในยุค...
Asian Lighting Forum 2019 จับตานวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ
หัวข้อที่สองของ Asian Lighting Forum ในงาน Hong Kong Lighting Fair ซึ่งนำผู้เชี่ยวชาญในวงการมาแชร์หลากหลายมุมมองถึงนวัตกรรมแสงสว่างและเทรนด์ในอนาคต ที่จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม รวมถึงการปรับตัวของผู้เล่นในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์แสงสว่าง ว่ามีแนวโน้มอย่างไรบ้าง
เริ่มที่ Mr. Figo Wang ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเคราะห์วิจัยและผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยจาก LEDinside ให้ข้อมูลด้าน Demand และ Supply ของ LED ในปี 2019/2020 ว่า ฝั่ง Supply ในฮ่องกงนั้น อุปกรณ์การทำ LED แบบที่ใช้ก๊าซที่โมเลกุลประกอบด้วยอะตอมของโลหะกับอะตอมของสารอินทรีย์ โดยมีชื่อเฉพาะเรียกว่า...
Asian Lighting Forum 2019 เวทีชี้เทรนด์แสงสว่างในยุคดิจิทัล
เริ่มต้นไปเรียบร้อยกับงาน Hong Kong Lighting Fair งานแสดงสินค้าด้านผลิตภัณฑ์แสงสว่าง โดยมีไฮไลท์ห้ามพลาดอย่าง Asian Lighting Forum เวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์แสงสว่าง ด้วยหัวข้อแรก Beyond Lighting: How Connected Lighting Shapes your Future โดยวิทยากรชั้นนำจากทั้งภาครัฐและเอกชน
เริ่มที่ Mr. Lawrence Chan จาก OSRAM บริษัทชั้นนำด้านนวัตกรรมแสงสว่าง พูดถึงการเปลี่ยนผ่านของเทรนด์ จากเดิมที่เป็นการให้แสงสว่าง ไปเป็นการปรับเข้าสู่ระบบดิจิทัล ที่จะเชื่อมต่อทั้งอดีต, อนาคต และความรู้สึกด้านจิตใจ อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างการเชื่อมต่อนั้น...
Wienerberger Brick Award เวทีประกวดรางวัลสถาปัตย์ที่ขับเคี่ยวความเจ๋งเรื่อง “อิฐ”
หลังจากส่งต่อความรู้เรื่องวัสดุมาหลายบทความต่อเนื่อง ทั้งเรื่องของดีไซเนอร์คนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมวัสดุ เรื่องของวัสดุที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ไปจนถึงการเปลี่ยนวัสดุที่ช่วยทำให้บ้านน่าอยู่ ครั้งนี้เราขอเปิดมุมมองของโลก “วัสดุ” อีกครั้งกับรางวัลที่หลายคนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงสถาปัตย์อาจยังไม่คุ้นเคย รางวัลที่มีพระเอกเป็นวัสดุประเภทเดียวในการตัดสินการออกแบบอย่าง Wienerberger Brick
Wienerberger Brick Award เป็นรางวัลระดับนานาชาติ ที่ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี คศ. 1819 จัดโดย Wienerberger ซึ่งเป็นผู้ผลิตอิฐที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศออสเตรีย และรายใหญ่ที่สุดของโลก มีวัตถุประสงค์ต้องการให้ “อิฐ” ได้ฉายแสง แสดงความน่าสนใจให้ผู้คนได้พบเห็นว่าวัสดุที่คนภายนอกอาจจะมองว่าคร่ำครึ เพราะเป็นวัสดุที่กำเนิดมายาวนาน สามารถผสมผสานเข้ากับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี ไม่ได้เป็นข้อจำกัดด้านการออกแบบ
แล้วผู้ผลิตอิฐเขาต้องการจะไทด์อินเรื่องการซื้อของ ๆ เขาหรือเปล่า ? การประกวดมันต้องไม่โปร่งใสแน่เลย บางคนที่กำลังอ่านอาจจะกำลังคิดอย่างนี้ แต่เราขอยืนยันให้สบายใจได้ว่าไม่เกี่ยวกัน เพราะเขาระบุว่าการส่งประกวดสิ่งปลูกสร้างจากอิฐที่เข้าร่วมการประกวดนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ “อิฐ”...