อนาคตของที่อยู่อาศัย บ้านขนาดเล็กพร้อมแผงโซล่าเซลล์
การออกแบบบ้านขนาดเล็กดูจะมีอนาคตไกล เมื่อล่าสุด ทีมนักศึกษาจาก รัฐซคราเมนโต แคลิฟอเนีย สหรัฐอเมริกา ภายใต้ชื่อทีม Sol Vespiade ได้ออกแบบบ้านขนาดเล็กที่สะท้อนแนวคิดพลังงานที่ยั่งยืนเพื่ออนาคตแห่งการใช้ชีวิต ด้วยบ้านติดล้อขนาด 400 ตารางฟุตที่ตกแต่งภายในอย่างอบอุ่น ที่มาพร้อมกับแผงโซล่าเซลล์ขนาดใหญ่สำหรับผลิตไฟเพื่อใช้ในตัวบ้าน
ตัวบ้านหลังนี้ใช้วัสดุเป็นไม้ซีดาห์ทาสีกันความร้อนตามแบบฉบับบ้านไม้ดั้งเดิมสไตล์อเมริกัน อย่างไรก็ตามความเก่าก็สามารถทันสมัยได้ด้วยนวัตกรรมที่จะทำให้บ้านหลังนี้คือบ้านแห่งอนาคตเพื่อชีวิตที่ยั่งยืน เมื่อมีการติดแผงโซล่าเซลล์ที่ผนังภายนอกตัวบ้าน และบริเวณหลังคา เพื่อพื้นที่ในการสร้างไฟฟ้าที่มากยิ่งขึ้น
นอกจากนั้น ทางผนังบ้านฝั่งใต้ได้ติดตั้งแผ่นรับแสงแบบหลอดแก้วสุญญากาศ (Evacuated Tube Solar Collector) ที่จะเปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นความร้อนสำหรับใช้ทำน้ำอุ่น และสำหรับบ้านที่ต้องการใช้น้ำ ทางทิศตะวันตกของตัวบ้านมีการติดตั้งถังเก็บน้ำฝนขนาด 40 แกลลอนเพื่อใช้อุปโภคบริโภคภายในบ้านอีกด้วย
ประตูทางเข้าบ้าน ทางทีมเลือกใช้ประตูบานสวิงแบบเปิดเข้าหาตัวเพื่อไม่ให้สิ้นเปลืองพื้นที่ภายในบ้าน พื้นที่อยู่อาศัยนั้นสว่างและอากาศถ่ายเทสะดวกเนื่องจากเป็นประตูกระจกและมีหน้าต่างขนาดใหญ่เพื่อรับแสงธรรมชาติ หน้าต่างคู่นั้นทำให้เกิดการใหลเวียนของอากาศ ทำให้ผู้อาศัยมีสุขภาพที่ดี ตัวบ้านบรรยากาศร่มรื่น...
พบกับชุดเครื่องมือ DIY ที่จะเปลี่ยนให้กระดาษกลายเป็นโคมไฟ
บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าสตาร์ทอัพจากลอนดอน Bare Conductive ได้สร้างชุดเครื่องมือที่จะเปลี่ยนให้กระดาษธรรมดาๆ ของคุณให้สามารถใช้เป็นโคมไฟได้
ชุดเครื่องมือแสนสะดวกนี้เรียกว่า Electric Paint Lamp Kit ในชุดจะรวบรวมส่วนประกอบทุกส่วนที่จำเป็นต่อการสร้างโคมไฟกระดาษ ทั้งแผงวงจร ไฟLED หกหลอด สายเชื่อมต่อแบบ Micro-USB มาตรฐานที่สามารถเลี้ยงไฟให้หลอด LED ทุกหลอดได้อย่างสม่ำเสมอ และสีชนิดนำไฟฟ้า โดยในชุดเครื่องมือนี้ได้แนบคำแนะนำมาด้วย ซึ่งบอกตั้งแต่ขั้นตอนการพับรูปทรงไปจนถึงวาดเส้นวงจรด้วยสีชนิดนำไฟฟ้าเพื่อให้ผู้ใช้สามารถทำตามได้ง่าย
โดยสีนำไฟฟ้าชนิดนี้ Bare Conductive ได้รับประกันว่า สามารถนำกระแสไฟฟ้าได้ทั้งบนกระดาษ,พลาสติก,สิ่งทอ และตัวนำไฟฟ้าชนิดอื่นๆ นอกจากนั้นยังทำงานร่วมกันกับระบบเซนเซอร์ตรวจจับการสัมผัสเช่น ปุ่ม เปิด-ปิดไฟ หรี่ไฟ่ หรือแม้กระทั่งเซนเซอร์ตรวจจับวัตถุ-การเคลื่อนไหว ชุดเครื่องมือนี้มาพร้อมกับกระดาษเทมเพลตสำหรับพับเป็นโคมไฟ แต่ผู้ใช้ก็สามารถดัดแปลง หรือพับใหม่เลยก็สามารถทำได้ หมายความว่าโคมไฟนี้...
เดวิด มาร์ค สถาปนิกผู้ออกแบบ London Eye เสียชีวิตแล้วในวัย 64 ปี
เดวิด มาร์ค คือใคร?
เขาคือผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทสถาปัตย์ MARK BARFIELD ARCHITECS
เขาคือ 1 ในสถาปนิกผู้ออกแบบและผลักดันโครงการ London Eye หนึ่งในสัญลักษณ์ของกรุงลอนดอน
เขาคือ 1 ในสถาปนิกผู้ออกแบบ British Airways i360 หอสังเกตุการณ์ที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
และเขาคือสามีผู้เป็นที่รักของภรรยา
เดวิด มาร์ค คือสถาปนิกชาวสวีเดน เขาเกิดในปี1952 ที่เมืองสต็อคโฮม แต่ต้องย้ายที่อยู่ไปยังกรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เขาได้ใช้ชีวิตวัยเด็กและเติบโตที่นั่น จนเมื่อเขาอายุ 20 ปี เขาชนะเลิศการแข่งขันของสมาคมสถาปัตยกรรม และได้ย้ายมายังกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ที่ที่เขาได้พบกับ จูเลีย บาร์ฟิลด์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท...
สวยจนหยุดหายใจ! บ้านไม้หลังเล็กที่ข้างนอกธรรมดา แต่ข้างในหรูหราอย่างไม่น่าเชื่อ
“อย่าตัดสินอะไรจากแค่ภายนอก” ดูเป็นคำที่น่าจะอธิบายบทความนี้ได้ดีที่สุด ขอเชิญทุกคนพบกับ “The Escher” บ้านเคลื่อนที่หลังเล็กที่จะทำให้คุณทึ่งจนลืมหายใจ
ผลงานการออกแบบและสร้างโดย New Frontier Tiny Homes บ้านหลังนี้ถูกออกแบบมาให้สามารถใช้พื้นที่ทุกส่วนได้อย่างชาญฉลาด วัสดุระดับ high end และงานฝีมือระดับปราณีต เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า ชีวิตที่โอ่อ่า สามารถมีได้ในพื้นที่จำกัด The Escher ได้รวมความธรรมดาเข้ากับการออกแบบร่วมสมัย ให้กลายเป็นความหรูหราที่น่าตื่นตาและกลายเป็นที่พักในฝันของหลายคน
The Escher ถูกออกแบบมาให้สามารถรองรับครอบครัวที่มีลูกประมาณสองคน แบบพักอาศัยถาวร แต่ลูกค้าก็สามารถเลือกปรับเปลี่ยนรายละเอียดได้ ผนังของตัวบ้านทำจากทั้งไม้เซดาร์ Shou Sugi Ban ,ไม้ซีดาห์แดงตะวันตก เพดานถูกยกสูงเพื่อให้ความรู้สึกถึงพื้นที่ที่ใหญ่ขึ้น นอกจากนั้นเพดานยังเคลือบสานกันความร้อนตลอดแนว...
ผลงานจาก archimontage พบสนามยิงธนูในซอยจรัญฯ82 ที่สร้างจากวัสดุไม่ถาวร
ซอยจรัญสนิทวงศ์ 82 เป็นซอยที่แคบๆ ซอยหนึ่งในกรุงเทพมหานคร - ประเทศไทย ซอยที่รถแทบจะผ่านไม่ได้ และหากมาจากถนนใหญ่ก็แทบจะหาไม่เจอ
แต่ที่นี่คือที่ที่ตั้งของอาคารชั้นเดียวอาคารหนึ่ง ผลงานของบริษัท archimontage ที่ได้ลองสร้างความแปลกใหม่ให้แก่พื้นที่เมืองในแถบจรัญสนิทวงศ์ 82 ที่ที่การใช้งานและกิจกรรมบนพื้นที่นี้จะสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์และความพิเศษของตัวออกมา
archimontage design fields sophisticated ได้ออกแบบสนามยิงธนูบนพื้นที่ 650 ตารางเมตร โดยพื้นที่ทั้งหมดถูกแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนหน้าคืออาคารสำหรับติดต่อและใช้เป็นสำนักงาน ซึ่งแต่ละห้องใช้วัสดุปูพื้นคนละแบบ และพื้นที่ส่วนหลังคือสนามยิงธนูที่ประกอบไปด้วยช่องยิงและเป้ายิงพร้อมสรรพ โดยสนามยิงธนูแห่งนี้ นอกจากโครงสร้างของอาคารแล้ว ส่วนอื่นๆ ล้วนใช้วัสดุไม่ถาวรทั้งสิ้น เช่น แผ่นซีเมนต์ไฟเบอร์ถูกใช้ในการทำผนัง ทั้งส่วนตรงและผนังส่วนโค้ง บริเวณช่องยิงธนูใช้หินบดในการปูพื้น รั้วทำจากตาข่ายลวด ทั้งภายในและภายนอกของอาคารทาด้วยสีอะคริลิคสีกรมท่า...
ลูซี่ โคลโดว่า นำเสนอแนวคิด “ความสำคัญของแสงไฟ” บนผลงานจัดแสดง ‘Das Haus’
ถูกยกให้เป็นดาวเด่นของการออกแบบภายในของงาน IMM Design 2018 เมื่อ ลูซี่ โคลโดว่า นักออกแบบชาวเช็กนำเสนอผลงานล่าสุดในบูธ ‘Das Haus’
ผลงานชิ้นนี้ต่อยอดมาจากงานในปี 2017 ของ ท็อด บราชเชอร์ ปี 2018 โคลโดว่าได้นำเสนอแนวคิด ‘แสง อารมณ์ และการใช้ชีวิต’ ในหลายๆแง่มุม โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เห็นความสำคัญของแสงต่อการออกแบบบ้านที่อยู่อาศัย
“ฉันอยากจะนำเสนอบ้านในอุดมคติ แต่ไม่ใช่ด้วยคำพูดหรือตัวหนังสือ แต่ด้วยแสงในหลายๆรูปแบบ” ลูซี่ โคลโดว่ากล่าว “ใน บ้าน ของฉัน แสงจะมีบทบาทหลัก และเฟอร์นิเจอร์เป็นตัวเสริมให้สมบูรณ์เท่านั้น ไม่มีทางที่แสงและเฟอร์นิเจอร์จะสลับบทบาทกัน”
“ฉันเรียกการออกแบบของฉันว่า ‘ระดับแสง’ (Light...
พาดูภาพถ่าย BIG’s LEGO house โดย อีวาน บาอัน
ไม่มีสิ่งก่อสร้างใหนเสร็จสมบูรณ์จริงๆ ตราบได้ที่ยังไม่มีภาพสวยออกๆมาให้ทุกคนได้ชื่นชม
และภายหลังจากประตูของ BIG’s LEGO House เปิดให้ผู้คนทั่วไปได้เข้าชม ณ เมืองลุนด์ ประเทศเดนมาร์ก สถานที่จุดกำเนิดของตัวต่ออันแสนโด่งดัง ภาพของแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของ LEGO, BIG’s LEGO house ก็ได้ถูกบันทึกลงบนภาพถ่ายโดยฝีมือช่างภาพชาวดัตช์ อีวาน บาอัน
อาคารรูปทรงเหมือนตัวต่อ 21 ชิ้นต่อกัน จนไปถึงชิ้นที่อยู่บนสุดที่เรียกว่า Keystone รวมไปถึงร้านค้า ร้านอาหาร พื้นที่เอนกประสงค์ และพื้นที่กลางแจ้งอีกอีก 2,000 ตารางเมตรได้ถูกบันทึกลงภาพถ่ายโดยอีวาน บาอัน โดย ชั้นใต้ดินจะเป็นที่จัดแสดงเพื่อบอกเล่าประวัติความเป็นมาของบริษัท และงานเลโก้ชิ้นสำคัญ ที่รวมถึงผลงานของแฟนๆ ถูกจัดใว้บนชั้นบนสุด เพื่อให้ผู้เข้าชมที่ไม่ต้องการร่วมเล่นตัวต่อสามารถเดินชมได้บริเวณระเบียงที่ล้อมรอบส่วนนี้ใว้
source:designboom
DA architects จัดการแปลงโชว์รูมบริษัท Workspace Bulgaria ด้วยคาแรคเตอร์แบบอุตสาหกรรม
Workspace Bulgaria คือบริษัทเฟอร์นิเจอร์ข้ามชาติ ที่มักจะหานวัตกรรมและแนวทางแปลกใหม่เพื่อจะหาวิธีที่ดีที่สุด ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ของตน
และหนึ่งในแนวทางใหม่ๆ นั้น คือการออกแบบตามเทรนด์การใช้วัสดุรียูส-รีไซเคิล จากแนวทางนี้ DA architects ได้นำมาเป็นกรอบในการออกแบบ โดยการตอกย้ำความเป็นอุตสาหกรรม – พื้นคอนกรีตขัด และใช้ตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งในเป็นศูนย์กลางของพื้นที่ส่วนกลาง
‘ในโชว์รูม ตู้คอนเทนเนอร์สองตู้ต้องสามารถใช้ในบริเวณทำงาน และต้องสามารถใช้ในส่วนพื้นที่จัดแสดงได้ด้วย’
จากคำสั่งนี้ บริษัทออกแบบสัญชาติบัลเกเรีย DA architects ได้ตัดสินใจตัดตู้คอนเทนเนอร์ตู้ที่หนึ่งออกเป็นสองส่วน และตั้งอยู่คนละที่ในโชว์รูม ส่วนตู้ที่สองอยู่บริเวณพื้นที่จัดแสดงเก้าอี้ พร้อมกับถูกยกให้ลอยบนอากาศเหนือฐานไม้อัด ตู้ถูกนำผนังด้านนึงออกเพื่อวางเคาน์เตอร์บาร์ และแบ่งส่วนหนึ่งด้วยกำแพงห้อง ทำให้ด้านนึงอยู่ที่ส่วนจัดแสดงเก้าอี้ ส่วนอีกด้านของกำแพงสามารถใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจได้
ฐานไม้อัดลู่ลงบริเวณพื้นที่จัดแสดงเก้าอี้ ทำให้เก้าอี้ถูกจัดวางอยู่สูงกว่าปกติและเป็นจุดที่ดึงดูสายตา นอกจากตู้คอนเทนเนอร์และฐานไม้อัดแล้ว พื้นที่ส่วนอื่นๆ ทั้งหมดถูกออกแบบอย่างเรียบง่ายในเรื่องของวัสดุ พื้นคอนกรีต ผนังสีขาว...
ความหรูหราริมทะเลสาป พาดูโรงแรมในอิตาลี่ ที่จะพาคุณย้อนกลับสู่ธรรมชาติ
บริษัทสถาปัตย์ Noa ได้ผสมผสานเทือกเขาแอลป์เข้าสู่ความเป็นเมดิเตอร์เรเนี่ยนลงสู่ผลงานรีโนเวทของเขา
ทีราบสูงติดกับทะเลสาปธรรมชาติ คือที่ตั้งของโรงแรมซีฮอฟ โรงแรมหรูที่ยกย่องธรรมชาติด้วยการใช้วัสุดุ จากธรรมชาติ และออกแบบโดยมีธรรมชาติเป็นแรงบันดาลใจ หลังคาถูกออกแบบให้เป็นรูปลูกคลื่น เป็นเหมือนภาพสะท้อนทัศนียภาพของถูเขา Natz-Schabs ตัวอาคารเลือกใช้สีเอิร์ธโทน และใช้วัสดุเป็นไม้ล้วนเพื่อให้กลมกลืนกับป่าไม้โดยรอบ
"วัสดุไม้ที่ใช้ทำด้านหน้าของอาคาร เราเลือกให้มีผิวสัมผัสที่ไม่ละเอียดเพื่อให้กลมกลืนกับบรรยากาศแวดล้อม เรามุ่งเน้นให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างวัสดุกับพื้นที่ และที่สำคัญ การเป็นส่วนหนึ่งกับทะเลสาป เพราะเป็นทั้งอัตลักษณ์และเป็นเหมือนฉากแรกของโรงแรมแห่งนี้" สตูดิโอ Noa กล่าว
source:inhabitat
Heatherwick Studio ขอเสนอ Friction table โต๊ะที่สามารถยืดหรือย่อตามการใช้งานได้
แผ่นกระดาษและเรซิ่น ถูกใช้เป็นส่วนประกอบหลักในการสร้างโครงสร้างแบบฟันปลาของโต๊ะตัวนี้ ออกแบบโดย Heatherwick Studio ด้วยแนวคิด “เปลี่ยนแบบให้เป็นสองแบบ” (transforms to offer two forms)
Friction table เปิดตัวในงานแสดงศิลปะ Frieze เป็นผลงานการค้นคว้าโดย โทมัส เฮเธอร์วิค ผู้นำบริษัทเข้าสู่เส้นทางการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถปรับเปลี่ยนตามพื้นที่และความต้องการได้ “นี่คือรูปธรรมของนิยามที่ว่า เปลี่ยนแบบให้เป็นสองแบบ ” โครงสร้างแบบซี่ฟันปลาสามารถยืดและย่อเพื่อเอื้อต่อการใช้ประโยชน์ของทั้งคนกลุ่มเล็กๆ ไปจนถึงกลุ่มขนาดใหญ่
“สตูดิโอเริ่มสนใจแนวคิดที่จะสร้างเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถปรับเปลี่ยนสัดส่วนของตัวมันได้เพื่อมาชดเชยปัญหาการออกแบบอื่นๆ ที่พบ” Heatherwick Studio อธิบาย เราเคยทดลองด้วยกลไกแบบหมุน และทดลองแบบอื่นมาเรื่อยๆ หลังจากลองมาหลายแบบ ตัวอย่างแบบโต๊ะที่ใช้กลไกการขยายก็เป็นแรงบันดาลใจให้งานชิ้นนี้
แผ่นวัสดุของโต๊ะตัวนี้ทำจากกระดาษที่ถูกทำให้แข็งด้วยเรซิ่น ซึ่งแผ่นวัสดุจำนวน 64...
ไม่ต้องมีดิน ไม่ต้องมีแสงแดด ‘SPACE10’ ห้องทดลองเพื่อสร้าง ‘ฟาร์มในร่ม’ ของอิเกีย
ห้องทดลองเพื่อนวัตรกรรม ‘SPACE10’ นำเสนอผลงานของอิเกีย ‘ฟาร์มในร่ม’ ที่งาน London design Festival เพื่อตอกย้ำว่า สีแห่งอนาคตของมนุษย์นั้น จริงๆ แล้วคือสีเขียว
‘Lokal’ ผลงานชิ้นต้นแบบของนวัตรกรรมชิ้นใหม่ของอิเกีย ฟาร์มแนวตั้งที่ใช้ระบบไฮไดรโพนิค (การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน) ที่ใช้วิธีการปลูกด้วยการเลี้ยงพืชด้วยน้ำ และใส่สารอาหารที่จำเป็นต่อพืชลงไปในน้ำแทนดิน วางซ้อนกันเป็นชั้นๆ ใต้หลอด LED โดยทั้งหมดจะอยู่ภายในกล่องควบคุมอุณหภูมิ ด้วยเทคโนโลยีนี้ พืชที่ปลูกสามารถเจริญเติบโตได้เร็วเป็นสามเท่าของพืชที่ปลูกด้วยวิธีปกติ และใช้น้ำน้อยกว่าวิธีปกติถึง 90 เปอร์เซนต์
‘SPACE10’ กล่าวถึงการพัฒนาครั้งนี้ว่าเป็นการแก้ปัญหาที่เกิดจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และความไร้ประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตอาหารของโลก หลอด LED ที่ให้แสงสว่างแก่พืชนี้มีอายุการใช้งาน 1 ปี ทำงานร่วมกับเซนเซอร์อัจฉริยะที่จะวัด...
La Seine Musicale ฮอลล์ดนตรีที่มีแผงโซล่าเซลล์ที่สามารถ’เคลื่อน’ตามแสงอาทิตย์ได้
สถาปนิกรางวัลพริตซ์เกอร์ ชิเกรุ แบน ขอเสนอผลงานชิ้นล่าสุดของเขา La Seine Musicale ฮอลล์จัดแสดงดนตรีใกล้กับกรุงปารีส หอประชุมรูปใข่ที่มีแผงโซล่าเซลล์ซึ่งสามารถเคลื่อนที่ตามแสงอาทิตย์ได้
สถาปนิกชาวญี่ปุ่นคือผู้ชนะเลิศการแข่งขันการประกวดออกแบบของ La Seine Musicale ในปี 2013 โดยเขาได้ร่วมมือกับสถาปนิกในพื้นที่ ฌอง เดอ กาสตอง เพื่อเนรมิตพื้นที่บนเกาะเซอเกียง ที่อยู่ระหว่างบูโลญเบียงกูร์และจังหวัดเซวัวร์ ประเทศฝรั่งเศษ ให้กลายเป็นฮอลล์แสดงมหรสพที่มีสถาปัตยกรรมที่น่าตื่นตานี้
ฮอลล์ดนตรีแห่งนี้ภายในคือฮออล์ดนตรีอเนกประสงค์ขนาดใหญ่และหอประชุมขนาดเล็กอีกมากมาย ใจกลางของอาคารนี้คือ Grand Seine ฮอลล์อเนกประสงค์ขนาดใหญ่ความจุ 6,000 ที่นั่งที่รองรับทั้งการจัดแสดงคอนเสิร์ตและบัลเลต์ และยังมีฮอลล์แสดงขนาดย่อมที่สามารถจุคนถึง 1,150 คนได้อีกด้วย ที่แห่งนี้จะเป็นบ้านของวงดนตรี ‘Insula Orchestra’...
ประสบการณ์ดินเนอร์บนความสูง 500 ฟุต เมื่อ Space Needle รีโนเวทและเปลี่ยนทุกอย่างเป็นกระจก
เมื่อปีก่อน Space Needle แลนด์มาร์คทางสถาปัตยกรรมอันโดดเด่นที่ตั้งอยู่ที่เมืองซีแอทเทิล สหรัฐอเมริกา ได้ประกาศแผนการรีโนเวท และสถาปนิก โอลสัน คุนดิก ได้รับเลือกให้ดูและการปรับเปลี่ยนการออกแบบครั้งนี้
โครงการในครั้งนี้มีจุดประสงค์ที่จะทำให้ทันสมัยแต่ยังคงดีไซน์เดิม โดยค่าใช้จ่ายในการรีโนเวทในครั้งนี้มากถึง 100 ล้านดอลลาห์สหรัฐ เริ่มดำเนินการได้แล้วสองอาทิตย์ บนความสูง 400 ฟุตจากพื้นดิน
ภาพตัวอย่างล่าสุดของโอลสัน คุนดิก ได้เผยให้เราเห็นถึงคอนเซปล่าสุดของภัตตาคารบน Space Needle โดยได้เปลี่ยนพื้นและผนังของภัตตาคารเป็นกระจกทั้งหมด นอกจากนั้นโต๊ะและเก้าอี้รวมไปถึงม้านั่งทั้งหมดก็ใช้กระจกทั้งสิ่น ด้วยความสูง 500 ฟุต เหนือความวุ่นวายด้านล่าง การออกแบบครั้งนี้ไม่ได้เพื่อรองรับแค่ภัตตาคาร แต่ต้องรองรับความกล้าหาญในการมองลงไปข้างล่างอีกด้วย
source:designboom
ใช้ชีวิตในกระดาษแข็ง : The Wikkelhouse บ้านประกอบจากกระดาษแข็งที่ติดตั้งใด้ภายในวันเดียว
ฟิคชั่น แฟคทอรี่ บริษัทสัญชาติฮอนแลนด์นี้ เคยเป็นบริษัทที่ดูแลเรื่องฉากในละครเวที แต่ล่าสุด พวกเขาได้แตกไลน์งานออกแบบและก่อสร้างออกมา และพวกเขาก็มีความยินดีที่จะนำเสนอผลงานชิ้นใหม่ The Wikkelhouse บ้านหลังเล็กอรรถประโยชน์ที่มี ‘กระดาษลัง’ เป็นส่วนประกอบหลัก
ถึงแม้ The Wikkelhouse จะมีวัสดุหลักเป็นกระดาษแข็ง แต่ก็ถูกออกแบบมาให้มีความแข็งแรงเป็นพิเศษด้วยการทับกระดาษลังมากถึง 24 ชั้นในขั้นต่อการขึ้นรูปบ้าน ซึ่งบ้านแต่ละหลังสามารถปรับเปลี่ยนทั้งขนาดและการออกแบบตามการใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น
โดยฟิคชั่น แฟคทอรี่ได้บริการส่งส่วนประกอบของ The Wikkelhouse ไปทั่วทั้งฮอลแลนด์ เบลเยี่ยม เยอรมัน สหราชอาณาจัก และเดนมาร์ก และเมื่อถึงที่ ทีมติดตั้ง The Wikkelhouse สามารถติดตั้งบ้านทั้งหลังได้ภายในวันเดียว เพราะแต่ละชิ้นส่วนของบ้านนั้นมีน้ำหนักเพียงชิ้นละ...
เมื่อห้องเรียนคือสนามเด็กเล่น พาดูโรงเรียนอนุบาลที่ให้เด็กๆ ได้วิ่งเล่นบนหลังคา
ผลงานออกแบบชิ้นนี้คือผลงานของ Tezuka Architects ที่พึ่งชนะรางวัล Moriyama RAIC International Prize ผลงานสิ่งก่อสร้างที่มีหลังคารูปวงรีที่ทุกคนเห็นอยู่นี้ ตั้งอยู่ที่โรงเรียนอนุบาลฟูจิ ในเขตชานเมืองทาชิคาว่า กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น สามารถรองรับเด็กอายุระหว่าง2-6ปีได้มากถึง 600 คน เป็นสถานที่ที่มี ‘หลังคา’ ให้เด็กๆ สามารถวิ่งเล่นได้รอบเหมือนเป็นลู่วิ่งในสนามกีฬา
เริ่มต้นจากแนวคิดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori Method) ที่มุ่งเน้นให้เด็กๆ ได้อยู่นอกห้องเรียนเป็นหลัก และเรียนรู้ผ่านการค้นพบด้วยตัวเอง และนอกจากที่จะออกแบบให้โรงเรียนอนุบาลแห่งนี้สอดคล้องกับสภาพกายภาพของเด็กแล้ว สถาปนิกจาก Tezuka Architects คุณ ทาคาฮารุ เทซูกะ ได้ออกโรงเรียนอนุบาลแห่งนี้ ให้เด็กๆ...