‘ลลิล’ มั่นใจตลาดอสังหาฯฟื้นรับโค้งสุดท้ายมาตรการภาครัฐ ลุยเปิดโครงการครองพื้นที่โซนตะวันตก

0
บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) (LALIN) มั่นใจตลาดเรียลดีมานด์แข็งแกร่ง ตอบรับโค้งสุดท้ายมาตรการรัฐจากการกระตุ้นจากภาครัฐบาล พร้อมลุยเปิดโครงการโซนกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก ฉลอง Pre-Sale โครงการ แลนซีโอ คริป ปิ่นเกล้า-พระราม 5 ( ซอยวัดพระเงิน ) มูลค่าโครงการ 1,400 ล้าน  นายชูรัชฏ์ ชาครกุล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) (LALIN) ผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ภายใต้คอนเซ็ปต์ “บ้านที่ปลูกบนความตั้งใจที่ดี”...

การประเมินและปรับปรุงคุณภาพอากาศก่อนการใช้งานอาคาร

0
วัสดุที่ใช้ภายในอาคารในช่วงการก่อสร้างมีสารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ ซึ่งนอกจากสารอันตรายเหล่านั้น กิจกรรมก่อสร้างก็สามารถนำสารปนเปื้อนอื่นๆ เข้ามาสะสมในสภาพแวดล้อมในอาคารเช่นกัน โดยสารอันตรายเหล่านั้นได้แก่ ฟอร์มันดีไฮด์ สารอินทรีย์ระเหยง่าย ฝุ่นละออง โอโซนแก๊สที่เผาผลาญจากอุปกรณ์ที่ใช้น้ำมัน และอากาศภายนอกจากอาคารรอบข้างมีกลิ่น หรือสารอันตรายอื่น ๆ ดังนั้นการลดสารอันตรายเหล่านั้นก่อนการเข้าใช้งานอาคารเป็นส่วนสำคัญ สำหรับการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ใช้งานอาคาร ซึ่งส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยจากสภาพแวดล้อมในอาคารที่ไม่มีคุณภาพลดน้อยลง และทำให้ประสิทธิภาพการทำงานดีมากขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อองค์กรที่เข้ามาใช้งานภายในอาคาร กลยุทธ์ที่ดีที่สุดสำหรับแสดงว่าคุณภาพภายในอาคารนั้นมีคุณภาพที่ดี คือ การทดสอบระดับมลภาวะภายในอาคาร จากการตรวจสอบคุณภาพอากาศภายในอาคารหลังจากการก่อสร้างเสร็จสิ้น และเป็นระยะเวลาก่อนการเข้าใช้งานอาคาร ซึ่งการตรวจสอบต้องตรวจวัดอากาศในสภาพตามที่มีการใช้งานอาคารตามปกติ สารปนเปื้อนที่ควรดำเนินการตรวจสอบ และความเข้มข้นในอากาศสูงสุดของแต่ละชนิดสารปนเปื้อน ขึ้นอยู่กับมาตรฐานที่ใช้ในการอ้างอิง สำหรับมาตรฐาน LEED 2009 จะให้ดำเนินการตรวจสอบสารปนเปื้อนตามตารางด้านล่าง ซึ่งในกรณีที่พบพื้นที่ที่มีค่าความเข้มข้นของสารปนเปื้อนชนิดใดสูงกว่าค่าสูงสุด ควรพิจารณาการดำเนินการเป่าอากาศที่หมุนเวียนในพื้นที่นั้น ให้เกิดระบายออกไปสู่ภายนอกอาคาร ด้วยการดูดอากาศจากภายนอกอาคารเข้ามาแทนที่อากาศที่หมุนเวียนอยู่ภายใน เราเรียกการดำเนินการนี้ว่าการ Flush-out ในกรณีที่ประเมินว่าอากาศภายในอาคารมีการปนเปื้อนสารอันตรายจากวัสดุและกิจกรรมการก่อสร้างในปริมาณที่สูง เนื่องจากการเลือกใช้วัสดุ...

การสำรวจอาคาร และวางแผนอนุรักษ์พลังงาน สำหรับอาคารประเภทระหว่างใช้งาน

สำหรับอาคารประเภทระหว่างใช้งาน (Existing Building-Operation & Maintenance) การสำรวจอาคารและวางแผนพัฒนาการอนุรักษ์พลังงานนั้น เป็นส่วนสำคัญในการลดค่าใช้จ่ายรายปีสำหรับการทำงานของระบบภายในอาคาร ซึ่งโดยส่วนมากแล้วในอาคารประเภทดังกล่าวนี้ จะสามารถลดค่าใช้จ่ายทางด้านพลังลงได้ถึง 5-20% ในแต่ละปี รวมไปถึงช่วยยืดอายุการใช้งานของระบบภายในอาคารได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยลดการปล่อยมลภาวะจากการผลิตไฟฟ้าภายในประเทศได้อีกด้วย การสำรวจอาคารและวางแผนพัฒนาการอนุรักษ์พลังงานของอาคารประเภทนี้นั้น ทางโครงการจะต้องจัดทำเอกสารในหลายขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย แผนในการจัดการอาคารรายละเอียดประกอบงานระบบ ขั้นตอนการทำงานระบบแผนการซ่อมบำรุงเชิงป้องกันและสุดท้ายที่ขาดไม่ได้คือ การตรวจสอบทางด้านพลังงานขั้นต้น การสำรวจ ตรวจสอบ และวางแผนต่าง ๆ เหล่านี้เองจะเป็นตัวช่วยให้ผู้ใช้งานอาคารเกิดความเข้าใจ และสามารถบริหารระบบอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แผนในการจัดการอาคาร หรือ Building Operating Plan เป็นการยืนและระบุถึงความต้องการในการใช้งานอาคารโดยผู้บริหารและผู้ดูแล อาคาร แผนการใช้งานอาคารนี้ควรจะต้องบรรยายภาพรวมของการบริโภคพลังงาน วิธีการบริหาร และลักษณะเงื่อนไขความต้องการตามช่วงเวลาในแต่ละพื้นที่ โดยรวมไปถึงการออกแบบสภาวะอากาศถ้าหากทางอาคารเคยจัดทำเอกสารแสดงเจตนารมณ์...

Project Review: Altitude สามย่าน-สีลม

โครงการ ALTITUDE สามย่าน-สีลม ตั้งอยู่บนทำเลศักยภาพอยู่ใจกลางเมืองสามย่าน-สีลม สามารถเลือกเส้นทางการเดินทางได้มากมาย สะดวกสบายทุกการเดินทาง เพราะห่างจากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสามย่าน เพียง 200 เมตร และห่างเพียง 600 เมตร จาก BTS สถานีศาลาแดง, ทางด่วน, โรงเรียนสาธิตจุฬา, สวนลุมพินี และห่างเพียง 450 เมตร จากย่านธุรกิจสีลม ALTITUDE สามย่าน-สีลม เป็นคอนโดมิเนียมแบบ Low rise สูง 8 ชั้น หนึ่งชั้นใต้ดิน มีพื้นที่โครงการรวม 285...

3 ยอดขุนพลอสังหาฯ จับมือปักทำเลทองกลางย่านธุรกิจ เปิดตัว ‘ALTITUDE สามย่าน-สีลม’

3 ยอดขุนพลอสังหาฯ รวมตัวกันจัดตั้ง บริษัท อัลเทอร์เนทีฟ แอสเซท จำกัด เดินหน้ารุกธุรกิจอสังหาฯ เปิดตัวคอนโดโครงการแรกใจกลางย่านธุรกิจ "ALTITUDE สามย่าน-สีลม" ภายใต้คอนเซ็ปต์ "ที่สุดสมดุลแห่งดีไซน์ของคอนโดมิเนียมใจกลางเมือง" มูลค่าโครงการกว่า 510 ล้านบาท รองรับดีมานด์ที่ขยายตัวต่อเนื่อง ย้ำจุดยืน "ไม่ใช่แค่ขายหมด แต่ต้องเป็นที่จดจำ" บริษัท อัลเทอร์เนทีฟ แอสเซท จำกัด เป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์หน้าใหม่ (ทุนจดทะเบียน 40 ล้านบาท) เกิดจากการร่วมทุนกันระหว่าง ดร.วนิดา บดินทร์ภักดีกุล ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับธุรกิจด้านการค้าที่ดิน, นายชยพล หรรรุ่งโรจน์ นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์...

มหันตภัยเงียบ ‘สารอินทรีย์ระเหยง่าย’ เราเลี่ยงได้ด้วยโครงการอาคารเขียว

0
สภาพสิ่งแวดล้อมในอาคาร หรือ Indoor Environmental Quality (IEQ) นับเป็นอีกหนึ่งหมวดพิจารณาของหลายข้อกำหนดและมาตรฐานอาคารเขียว (Green Building) ไม่ว่าจะเป็น LEED หรือ TREES และอื่นๆอีกมากมาย เนื่องจากสภาพสิ่งแวดล้อมในอาคารเป็นส่วนที่สัมผัสใกล้ชิดที่สุดต่อผู้ใช้อาคารและโดยตรง ในแง่ของสุขภาวะและความน่าสบาย ทั้งนี้ ในขั้นตอนกระบวนการของการก่อสร้างโครงการนั้น ประกอบด้วยสารเคมีต่างๆมากมาย อาทิ กาวและสารยึดติด (Adhesive) สารยาแนว (Sealant) สีทาภายในอาคาร (Paint) สารเคลือบต่างๆ (Coating) รวมไปถึงวัสดุปูพื้นจำพวกพรม (Carpet) หรือแม้กระทั่งในเครื่องเรือน (Furniture) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่จะมีสารอินทรีย์ระเหยง่าย...

การสูบบุหรี่กับโครงการอาคารเขียวตามมาตรฐาน LEED

0
โครงการอาคารเขียว ตามมาตรฐาน LEED มีข้อกำหนดซึ่งถือว่าเป็นข้อบังคับ สำหรับ Environmental Tobacco Smoke Control หรือ ETS Control เป็นอีกหนึ่งกลไกสำหรับการควบคุมพฤติกรรมการสูบบุรี่ของผู้ใช้อาคาร โดยพิจารณาถึงการควบคุมมิให้สารพิษจากควันบุหรี่มาส่งผลกระทบต่อร่างกายและสุขภาพของผู้ใช้อาคารรายอื่น ๆ ด้วย ในปัจจุบันพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้ใช้อาคารนั้น นับว่าเป็นอันตรายและส่งผลเสียต่อร่างกาย ทั้งในส่วนของผู้สูบเอง และผู้ที่ได้รับควันบุหรี่ หรือ Second Smoker ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขในระดับโลก ทั้งยังส่งผลกระทบต่อการสิ้นเปลืองทางเศรษฐกิจ ทำลายสิ่งแวดล้อม และก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมได้ องค์การอนามัยโลกได้มีการรวบรวมข้อมูลเพื่อแสดงถึงจำนวนของผู้สูบบุหรี่ พบว่ามีสูงถึงประมาณ 1,100 ล้านคนทั่วโลก และมีผู้เสียชีวิตด้วยสาเหตุจากการสูบบุหรี่ปีละ 5 ล้านคน แต่สำหรับในประเทศไทย ผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาตินั้น...

การส่งเสริมการทำคะแนนในหมวด Sustainable Site ของเกณฑ์ประเมินอาคารเขียว LEED

0
การส่งเสริมร่วมกันจากการเลือกทำคะแนน (Credit Synergies) คือ การเลือกทำข้อคะแนนที่สามารถส่งผลประโยชน์ต่อข้อคะแนนอื่น ๆ ในลักษณะที่มากกว่าการทำข้อคะแนนแยกกัน ซึ่งในบทความนี้ต้องการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของการทำคะแนน และนำเสนอความสัมพันธ์ที่ส่งเสริมกันภายในหมวดหมู่ Sustainable Site หลักดังกล่าว อันได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกใช้พื้นที่พัฒนาแล้ว การป้องกันการรุกรานธรรมชาติและระบบขนส่งมวลชน การเลือกใช้พื้นที่พัฒนาแล้วทำการก่อสร้างโครงการเป็นการป้องกันการรุกรานพื้นที่ทางธรรมชาติ รวมถึงป้องกันการขยายตัวของเมือง และความสามารถในการเข้าถึงของระบบขนส่งมวลชน ซึ่งลดการสร้างมลภาวะให้แก่สิ่งแวดล้อมจากการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างการฟื้นฟูปรับปรุงพื้นที่เสื่อมสภาพ สิทธิประโยชน์จากภาครัฐ และผลประโยชน์จากชุมชน ในบางประเทศหรือบางรัฐ การฟื้นฟูปรับปรุงพื้นที่เสื่อมสภาพเพื่อก่อสร้างโครงการ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ชุมชนหนาแน่นนั้นจะสามารถได้รับสิทธิประโยชน์จากทางภาครัฐเป็นเงินในการช่วยเหลือการก่อสร้าง หรือบางครั้งอาจเป็นสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี นอกจากนั้นยังส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาพื้นที่โดยรอบ ซึ่งเป็นพื้นที่ชุมชนหนาแน่นอยู่แล้ว ให้ได้รับผลประโยชน์ด้านการเงินเพิ่มเติม ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดฐานอาคาร และการป้องกันการรุกรานธรรมชาติ การออกแบบให้ขนาดฐานอาคารเล็กจะเป็นการส่งเสริมการป้องกันการรุกรานธรรมชาติได้ ขนาดฐานอาคารที่เล็กย่อมหมายถึงการมีพื้นที่เปิดโล่งมากขึ้น เมื่อพื้นที่เปิดโล่งมากขึ้นย่อมเป็นการรบกวนธรรมชาติน้อยลง รวมถึงสามารถลดการสร้างมลพิษจากแสงสว่างของอาคารที่กระจายออกไปสู่บริบทโดยรอบ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกันระหว่างอาคารที่สูงกับอาคารที่ฐานมีขนาดใหญ่ พบว่าอาคารที่มีขนาดสูงอาจจะป้องกันการสร้างมลภาวะทางแสงสว่างได้ง่ายกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกพื้นที่ก่อสร้างอาคารที่มีฐานอาคารขนาดเล็ก การลดปริมาณน้ำฝนไหลล้น และการลดสภาวะเกาะความร้อน การเลือกพื้นที่ก่อสร้างอาคารที่มีขนาดใหญ่ และก่อสร้างอาคารที่ฐานอาคารขนาดเล็ก...

โรงแรมที่ “กรีน” ที่สุดในอเมริกา จัดการด้านพลังงานทุกกระเบียดนิ้ว

โรงแรม Proximity ในเมืองกรีนส์โบโร รัฐนอร์ทแคโรไรนา สหรัฐอเมริกา ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย ในเรื่องของการให้ความสำคัญอย่างเคร่งครัด ในการประหยัดพลังงาน และการจัดการอย่างยั่งยืนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านการรับรองสูงสุด LEED Platinum จากสภาอาคารเขียวแห่งสหรัฐฯ จากการใช้พลังงานน้อยกว่าโรงแรมทั่วไปถึง 39.2% สำหรับมาตรการประหยัดพลังงาน สามารถพบได้ในทุกๆ พื้นที่ของโรงแรม ประกอบด้วยประการหลัก ๆ ดังนี้: 1. ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ 100 แผง เพื่อใช้เป็นพลังงานสำหรับเครื่องทำน้ำอุ่น แก่แขกผู้เข้ามาพักจำนวน 147 ห้อง 2. พื้นที่ 4,000 ตารางฟุต บนดาดฟ้าของโรงแรม สามารถแปลงพลังเป็นพลังงานไฟฟ้า จ่ายให้ใช้งานได้มากถึง 100...

พื้นที่เปิดโล่ง (Open Space) และพื้นที่เปิดโล่งเชิงนิเวศ (Ecological Open Space) แตกต่างกันอย่างไร?

0
พื้นที่เปิดโล่ง (Open Space) และพื้นที่เปิดโล่งเชิงนิเวศ (Ecological Open Space) มีความแตกต่างกันอย่างไร? ตามเกณฑ์ของ TREES-NC Version 1.1 ได้ให้นิยามศัพท์ของพื้นที่ทั้งสองไว้ดังนี้ พื้นที่เปิดโล่ง (Open Space) หมายถึง พื้นที่ภายนอกโครงสร้างอาคาร โดยรวมทั้งพื้นที่ดาดแข็งและพื้นที่สีเขียว แต่ไม่นับรวมพื้นที่ฐานอาคาร ซึ่งจะแตกต่างกับพื้นที่เปิดโล่งเชิงนิเวศตรงที่นับรวมพื้นที่ของรถยนต์ทั้งหมด แต่จะแตกต่างกับนิยามของ ที่ว่าง ตามกฎหมาย เนื่องจากพื้นที่เปิดโล่งอาจมีหลังคาคลุมได้ เช่น หลังคาโรงจอดรถ หรือพื้นที่ที่มีส่วนยื่นของอาคารมาปกคลุม หากพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ พื้นที่ทั้งหมดในโครงการ ไม่นับรวมพื้นที่ฐานอาคาร ก็คือพื้นที่เปิดโล่ง (Open Space)...

USGBC จัดอันดับ 10 ชาติผู้นำด้านอาคารเขียว (LEED) แห่งปี 2015

ปัจจุบัน มีประเทศที่ร่วมเกณฑ์การประเมิณอาคารเขียว LEED ในทุกทวีป มากกว่า 150 ประเทศทั่วโลก (ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา ในขั้วโลกใต้) โดยเกณฑ์การประเมิน LEED นี้ นิยมใช้กับกลุ่มชาติอุตสาหกรรมชั้นนำ และประเทศพัฒนาใหม่ ซึ่ง LEED จะช่วยประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อม สำหรับการก่อสร้างและปรับปรุงโครงการใหม่ นับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการด้านพลังงาน และใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า สภาอาคารเขียวแห่งสหรัฐฯ U.S. Green Building Council (USGBC) ผู้กำหนดเกณฑ์รับรองอาคารเขียว หรือ LEED ได้จัดอันดับชาติที่มุ่งผลักดันและพัฒนาด้านอาคารเขียวมากที่สุด 10 ประเทศของโลก (ไม่รวมสหรัฐฯ) เพื่อกระตุ้นให้ชาติอื่นๆ ตะหนักถึงความสำหรัฐของการบริหารจัดการพลังงานในงานก่อสร้างมากขึ้น ทั้งนี้...

ท่องไปในเมืองแห่งอนาคตของ Panasonic Fujisawa Sustainable Smart Town

0
ชุมชนเมืองประกอบด้วยสภาพแวดล้อมที่มีผู้คนอยู่อาศัยร่วมกัน ถือเป็นแหล่งศูนย์รวมของการใช้ชีวิต สาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มากมาย อาทิ ที่อยู่อาศัย การคมนาคมขนส่ง อาหาร และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นต้น จากข้อมูลอ้างอิงการสำรวจโดยสหประชาชาติพบว่าในปืที่ผ่านมา 54% ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในชุมชนเมืองเป็นหลัก และจำนวนประชากรที่อาศัยในเมืองใหญ่ทั่วโลกก็มีการเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ โดยคาดการว่าจะมีการเพิ่มสูงขึ้นถึง 66% ภายในปีค.ศ.2050 ดังนั้นชุมชนเมืองจึงต้องสร้างความน่าอยู่ให้มากขึ้นตาม เพื่อตอบสนองคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คนในอนาคตได้อย่างสมบูรณ์ ‘เมืองอัจฉริยะ’ (Smart City) และ ‘เมืองยั่งยืน’ (Sustainable City) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของกระบวนการพัฒนาความน่าอยู่ของชุมชนเมือง โดยเป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศญี่ปุ่นนั้นมีการส่งเสริมและพัฒนาเมืองให้ก้าวสู่ความเป็น Smart City รวมทั้งการสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นกับชุมชนเมืองด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะต่างๆ เพื่อสร้างสังคมคุณภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้แก่ประชากรผู้อยู่อาศัย Fujisawa Conceptual...

สารเคลือบผิววัสดุทำจากกระจก ช่วยลดความร้อนภายในอาคารได้

0
นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัย Johns Hopkins ในสหรัฐอเมริกา ได้คิดค้นวิธีการที่ทำให้หลังคาเหล็กของอาคารเย็นลงและสามารถยืดอายุการใช้งานของโครงสร้างเหล็กทุกชนิดได้ ซึ่งก็คือการเคลือบผิววัตถุด้วยกระจกอนินทรีย์ (inorganic glass) แทนการใช้โพลิเมอร์แบบดั้งเดิมทั่วไป เนื่องจากสีส่วนใหญ่ที่เราใช้ ไม่ว่าจะเป็นสีรถหรือสีทาบ้าน ล้วนแต่มีตัวเชื่อมประสานเป็นโพลิเมอร์ ซึ่งมักจะเสื่อมลงเมื่อโดนรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงอาทิตย์ อีกทั้งยังปล่อยสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ทีมนักวิจัยจึงได้ปรับเปลี่ยนโพแทสเซี่ยมซิลิเคทให้กลายเป็นสารประกอบที่เมื่อสเปรย์ลงบนพื้นผิวแล้วยังคงความแข็งแรงและกันน้ำได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้อายุการใช้งานก็ยาวนานกว่าการใช้สีเคลือบอื่น ๆ ด้วย เนื่องจากมันไม่มีส่วนประกอบของสารอินทรีย์ใด ๆ สารเคลือบนี้จะถูกผสมกับสีขาวเพื่อสะท้อนแสงอาทิตย์กลับ ทำให้พื้นผิวมีอุณหภูมิคงที่หรือเย็นลง ส่งผลให้ภายในอาคารมีอุณหภูมิที่เย็นลงและลดการใช้เครื่องปรับอากาศน้อยลงด้วย ขณะนี้ทีมนักวิจัยกำลังพัฒนาสารเคลือบผิวชนิดนี้เพื่อใช้กับเรือของกองทัพเรือก่อน ซึ่งคาดว่าจะเริ่มทำการทดสอบในอีก 2 ปีข้างหน้าต่อไป https://www.youtube.com/watch?v=xaaRzCcaArU นิตยสาร Builder Vol.24 OCTOBER 2015 Photo Credit: American Chemical Society /...

ทั้งสวย ทั้งใหญ่! โครงสร้างสถาปัตย์ 3D Printing ในงาน Beijing Design Week 2015

ที่งาน Beijing Design Week 2015 ในกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน บริษัท Laboratory for Creative Design (LCD) ออกแบบและก่อสร้าง Pavilion ด้วยเทคโนโลยี 3D Printing ที่มีความสวยงามทางด้านสถาปัตยกรรม ทั้งยังได้รับการขึ้นทะเบียนจาก กินเนสส์ เวิลด์ เรคคอร์ด ด้วยว่า เป็นโครงสร้างที่ทำจากเทคโนโลยี 3D Printing ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก Pavilion ดังกล่าว ชื่อว่า 'Vulcan' เป็นภาษาละติน แปลว่า 'ภูเขาไฟ'...

Hawaii กับแนวคิดในการเก็บเกี่ยวพลังงานจากมหาสมุทร

0
Hawaii ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่เริ่มพัฒนาแนวคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับพลังงานทางเลือก เหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะมีความเป็นเกาะที่โดดเดี่ยวกลางทะเล จึงต้องพึ่งการนำพลังงานฟอสซิลเข้ามาใช้งาน และท่ามกลางแหล่งธรรมชาติของพลังงานธรรมชาติอย่างภูเขาไฟและพลังงานความร้อน ที่สะสมอยู่ในมหาสมุทร Hawaii ได้เริ่มวิสัยทัศน์เรื่องพลังงานโดยตั้งเป้าที่จะเป็นเกาะที่ใช้พลังงานทดแทน 100% ภายในปี 2045 รวมทั้งได้ดำเนินการติดตั้งระบบพลังงานจากลม ร่วมกับระบบ Grid ให้บริการพลังงานระบบ Solar Cell บนหลังคาบ้าน และระบบใหม่ล่าสุด ได้แก่ ระบบการถ่ายทอดพลังงานความร้อนของมหาสมุทรแบบปิด “First Fully Closed-Cycle Ocean Thermal Energy Conversion” หรือ OTEC แห่งแรกในสหรัฐอเมริกา โดยหลักการของ OTEC ได้แก่...