One Room Hotel

One Room Hotel โรงแรมหรู จากการรีโนเวทหอส่งสัญญาณโทรทัศน์ใจกลางกรุงปราก

ประเทศสาธารณรัฐเช็กเดินแผนสลัดคราบระบอบปกครองคอมมิวนิสต์ ปรับโฉมหอส่งสัญญาณโทรทัศน์ Žižkov ใหม่ให้กลายมามาเป็นโรงแรมระดับหรู One Room Hotel มอบประสบการณ์อันน่าประทับใจให้กับแขกผู้พักอาศัยบนความสูงกว่า 70 เมตร แม้ว่าหอส่งสัญญาณโทรทัศน์ Žižkov ที่สร้างขึ้นในใจกลางกรุงปราก เมืองหลวงประเทศสาธารณรัฐเช็ก จะถูกมองว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่ดูรกตาขาดความสวยงาม และหมดประโยชน์จากการล่มสลายของระบบคอมมิวนิสต์ แต่ก็ได้มีหลายแนวคิดที่จะยกระดับสิ่งปลูกสร้างนี้ให้สามารถนำใช้งานในยุคปัจจุบันได้บ้าง โดยล่าสุดนี้ก็ได้มีการปรับปรุงรีโนเวทเสียใหม่ให้เป็นโรงแรมหรู One Room Hotel บนความสูงกว่า 230 ฟุต ( 70 เมตร) พร้อมกับตกแต่งโฉมภายในสำหรับเป็นห้องระดับหรู และเต็มไปด้วยเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกอันทันสมัย โดยที่ภายนอกจะยังคงสภาพไว้แบบเดิมในยุคของคอมมิวนิสต์ เรียกว่าเป็นการปรับปรุงรูปแบบการใช้งานโดยผสมผสานความเป็นเอกลักษณ์แบบดั่งเดิมเอาไว้ เพื่อเพิ่มมูลค่าของสิ่งปลูกสร้างให้ตอบรับกับสังคมยุคปัจจุบัน การปรับปรุงพื้นที่ของโรงแรม One Room Hotel...
Tridika

‘Tridika’ ห้องเคลื่อนที่ด้วยพลังงานแม่เหล็ก

ยึดที่นั่งของคุณให้มั่น ถ้าต้องนั่งอยู่บนเก้าอี้ภายในห้องนั่งเล่นเคลื่อนที่แห่งนี้! Charles Bombardier วิศวกรชาวแคนาดา ปล่อยจินตนาการให้โลดแล่นผ่านผลงานสุดแปลก โดยร่วมมือกับดีไซเนอร์ Ashish Thulkar สร้าง Tridika ห้องเคลื่อนที่ขนาดเล็ก ซึ่งขับเคลื่อนด้วยพลังงานแม่เหล็กที่ยกให้ลอยอยู่บนราง (Maglev) ไอเดียการสร้าง Tridika ได้รับแรงบันดาลใจมาจากลิฟต์เคลื่อนที่ของ วิลลี วองก้า โดยคอนเซ็ปต์ที่ใช้นั้นเป็นการออกแบบยานพาหนะไร้คนขับ ซึ่งสามารถจอดเทียบที่ผนังอาคารสูงอย่างอพาร์ทเมนท์ หรือจอดเทียบกับบ้าน และยังใช้เป็นห้องอเนกประสงค์เพื่อประโยชน์เพิ่มเติมได้ อีกทั้งยังสามารถปรับเปลี่ยนขนาดได้ตามความเหมาะสมของการใช้งานอีกด้วย Bombardier ยังได้อธิบายเพิ่มเติมอีกว่า ห้องขนาดเล็กนี้นั้น สามารถเนรมิตให้กลายเป็นออฟฟิศเคลื่อนที่ ซึ่งมีที่นั่งที่สามารถจุคนได้มากถึง 6 คน เหมาะสำหรับหนุ่มสาวชาว workaholic ทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง และดูเหมือนว่า แรงกระตุ้นให้เกิดการสร้าง Tridika ของเขานั้น จะมาจากคอมมอนเซนส์ล้วน...

E-Newsletter Vol.16

0
แก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้วย “โครงการแก้มลิง” ตามรอยพ่อหลวง ร.๙
นวัตกรรมกับงานออกแบบ

5 บริษัทสถาปัตย์ ที่ได้ชื่อว่า ผสมผสานนวัตกรรมเข้ากับงานออกแบบ ได้ดีที่สุดในโลก!!

เป็นที่ทราบกันดีว่า เหล่าประเทศอาเซียนน่าจะเป็นกลุ่มประเทศที่รับเอาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ไปปรับใช้กับอุตสาหกรรมของตนได้ช้ากว่าประเทศในแถบอื่น ระบบโครงสร้างขององค์กรต่าง ๆ ก็เป็นระบบที่ดำเนินการได้ช้า อีกทั้งเงินเดิมพันในการรับเอาเทคโนโลยีเหล่านั้นเข้ามาก็ค่อนข้างสูง จึงทำให้บรรดาผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มประเทศอาเซียนตัดสินใจรับเอาเทคโนโลยีดังกล่าวเข้ามาทดลองใช้ได้ยากยิ่งขึ้นไปอีก โดยเหตุเกิดจากการถูกจำกัดบทบาทของสถาปนิกในกระบวนการพัฒนาโครงการ การแก้ไขปัญหาในเรื่องนวัตกรรมการออกแบบและการทดลองด้วยเทคนิคทางอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ที่ยังคงจำกัดอยู่ในแวดวงการศึกษาและสถาบันวิจัย อย่างไรก็ตาม บริษัทสถาปนิกบางแห่งกลับประสบความสำเร็จ ก้าวหน้าในต่างแดน จนส่งผลให้ดีไซเนอร์รุ่นใหม่มากความสามารถ ต่างพากันมาริเริ่มโครงการวิจัยภายในองค์กร ซึ่งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาไอเดียใหม่ ๆ ขึ้นในอุตสาหกรรมประเทศอาเซียน ซึ่ง 5 บริษัทที่กำลังจะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นบริษัทที่ช่วยส่งเสริมให้งานสถาปัตยกรรมสามารถผสมผสานเข้ากันกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้อย่างลงตัว 1. BIG หรือ Bjarke Ingels Group BIG เป็นหนึ่งในบริษัทสถาปนิกที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก เป็นตัวอย่างของการที่เหล่าสถาปนิกนำเอาวัฒนธรรมร่วมสมัย (pop...

สมาคมสถาปนิกสยามฯ ประสงค์ว่าจ้างพัฒนาแบบและก่อสร้างนิทรรศการ ในงานสถาปนิก’60

0
สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ กำหนดจัดงานสถาปนิก'60 ระหว่างวันที่ 2-7 พฤษภาคม 2560 ภายใต้แนวคิด "บ้าน บ้าน : BAAN BAAN" Reconsidering Dwelling และมีความประสงค์จะดำเนินการว่าจ้าง พัฒนาแบบและก่อสร้างงานนิทรรศการส่วนสมาคม โดยประกาศเชิญชวนผู้สนใจ เพื่อคัดเลือกผู้รับจ้าง ที่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติ และนำเสนอแนวความคิดในการออกแบบ ตลอดจนรูปแบบนิทรรศการ ที่เหมาะสมกับแนวคิดของการจัดงานมากที่สุด   แนวคิดหลักในการจัดงานสถาปนิก'60 “บ้าน บ้าน : BAAN BAAN” Reconsidering Dwelling “บ้าน” เป็นปัจจัยพื้นฐานของการดำรงชีวิตของคนทุกคน ในทุกสังคมและวัฒนธรรม ในขณะเดียวกัน บ้าน...
ลากูน

คริสตัล ลากูนส์ พลิกโฉมพื้นที่ไร้การพัฒนา สู่โครงการอสังหาฯ ที่ยิ่งใหญ่

0
คริสตัล ลากูนส์ บริษัทนวัตกรรมน้ำข้ามชาติ ผู้พัฒนา ลากูน ที่มีน้ำใสประดุจคริสตัลอย่างยั่งยืนและโอบล้อมด้วยชาดหาด โดยใช้ต้นทุนในการก่อสร้างและบำรุงรักษาที่ต่ำ ยังคงเดินหน้าเปลี่ยนแปลงโครงการอสังหาริมทรัพย์จากทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะสามารถพัฒนาได้ ให้กลายเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ประสบความสำเร็จที่สุดด้วยผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Investment หรือ ROI) ในอัตราที่สูงอย่างเหลือเชื่อ คริสตัล ลากูนส์ ได้เร่งยอดขายและยังเพิ่มมูลค่าต่อตารางเมตรให้กับการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ทุกโครงการด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยอันเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งได้รับการรับรองสิทธิบัตรใน 160 ประเทศ และทำให้สามารถนำไลฟ์สไตล์ราวกับการอยู่ริมชายหาดอันงดงามมาสู่ทุกพื้นที่ทั่วโลก สำหรับในตะวันออกกลาง คริสตัล ลากูนส์ ได้เพิ่มลากูนน้ำใสประดุจคริสตัลในโครงการเมกาโปรเจ็คแห่งอนาคตอย่าง "โมฮัมเม็ด บิน ราชิด อัล มัคตุม ซิตี้" (Mohammed Bin Rashid...

NEXT architects ออกแบบสะพานริ้วคลื่น Lucky Knot สร้างแลนด์มาร์คแห่งใหม่ในเมืองฉางชา

บริษัทสถาปนิกชื่อดังด้านการออกแบบสะพานทั่วโลก NEXT architects ได้สร้างสรรค์ผลงานให้ได้ชมอีกครั้งจากออกแบบสะพาน Lucky Knot ในเมือง ฉางชา ประเทศจีน ซึ่งสะพานดังกล่าวเป็นสะพานโครงสร้างเหล็กสำหรับเดินเท้า มีความโดดเด่นที่ดูสะดุดสายตา โดยได้รับแรงบันดาลใจการออกแบบให้เหมือนริ้วกระดาษที่หมุนพันซ้อนกันคล้ายกับแถบ Möbius Strip เพื่อนำเสนอมุมมองใหม่ที่กลมกลืนกับบริบทสังคมที่อยู่ใกล้เคียง พร้อมกับเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ให้กับเมือง เมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ NEXT architects ได้ถูกเชิญให้เข้าร่วมประกวดแข่งขันในการออกแบบสะพานข้ามแม่น้ำตามโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจในเมืองฉางชา ทางบริษัทจึงได้ส่งแบบสะพาน Lucky Knot เข้าประกวดและก็ได้คว้างรางวัลชนะเลิศไปครอง เนื่องจากมีการออกแบบที่ดูสะดุดตาและโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ต่างจากรูปแบบสะพานอื่นๆ ทั่วไป นอกจากนี้จะมีการเพิ่มเติมระบบบริหารจัดการน้ำ รวมถึงผสมผสานกับองค์ความรู้ท้องถิ่นจากจีนเข้าไปประกอบ ให้สะพานมีความสมบูรณ์ในทุกองค์ประกอบยิ่งขึ้น ส่งผลให้ก้าวขึ้นมาเป็นแลนด์มาร์คสำคัญของเมืองในอนาคต อีกทั้งยังถูกรับเลือกจาก CNN ว่าเป็นหนึ่งในสะพานที่มีลักษณะงดงาม ฉีกกรอบออกจากสะพานแบบเดิมๆ การก่อสร้างสะพานแห่งนี้นับเป็นโครงการสำคัญที่จะพัฒนามูลค่าของที่ดินสาธารณะในเขต...
นวัตกรรม

อัพเดทนวัตกรรมประจำเดือนตุลาคม 2016

รวมนวัตกรรมอัพเดทประจำเดือนตุลาคม 2016 ที่มาพร้อมกับ 11 นวัตกรรมที่เอื้อประโยชน์และอำนวยความสะดวกให้กับการดำเนินชีวิตในโลกยุคปัจจุบัน นวัตกรรมที่มาจากฝีมือการคิดค้นและพัฒนาจากมนุษย์เราเอง เพื่อให้ทุกคนได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 1. อุปกรณ์ทำความร้อน สั่งงานได้ด้วยเสียง https://www.youtube.com/watch?v=yTXzqsnryVk&feature=youtu.be Philippe Starck นักออกแบบชื่อดัง ได้ร่วมกับบริษัท Netatmo ออกแบบอุปกรณ์วาล์วอัจฉริยะควบคุมการทำความร้อนที่สามารถสั่งงานได้ด้วยเสียง ผ่านโปรแกรม Siri ของ Apple ซึ่งช่วยให้เจ้าของบ้านสามารถควบคุมอุณหภูมิความร้อนในแต่ละห้องได้โดยอุปกรณ์ถูกออกแบบให้เป็นรูปทรงกระบอก วัสดุภายนอกผลิตจาก Plexiglass โปร่งแสง มาพร้อมกับหน้าจอ e-ink เพื่อแสดงอุณหภูมิ นอกจากนี้ยังสามารถวิเคราะห์ คำนวณจำนวนคนที่อยู่ภายในห้องและอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้งานอยู่ และจะหยุดการให้ความร้อนโดยอัตโนมัติได้ด้วย See more: dezeen 2. ‘Gi FlyBike’ จักรยานที่พับได้ใน 1 วินาที https://www.youtube.com/watch?v=IGaR7QTRdyo ‘Gi...

UPCYCLE CARBON FOOTPRINT for INDUSTRY 4.0 กรุยทางผลิตภัณฑ์อีโค่ไทยสู่ตลาดโลก

0
ก้าวสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 อุตสาหกรรมไทยจะปรับตัวและรับมืออย่างไรดี? คือคำถามยอดนิยมของหลายท่านหากท่านเป็นองค์กรภาคเอกชนที่เป็นเจ้าของธุรกิจผู้ผลิตสินค้าและบริการในปัจจุบัน ซึ่งนับเป็นวาระแห่งชาติอีกครั้งหนึ่งที่ทุกภาคส่วนของหน่วยงานภาครัฐต้องเข้ามาร่วมมือกันสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยสามารถไปสู่ฝั่งฝัน และไม่ให้องค์กรของตนต้องตกขบวนการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในครั้งนี้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ สวทช. ในฐานะหน่วยงานที่ส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาในระดับสถานประกอบการ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้เป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยสร้างแนวคิด “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” (Sustainable Development) ที่มีการบูรณาการ และพิจารณาองค์ประกอบต่างๆ เพื่อใช้เป็นหลักการและแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาคุณภาพการดำรงชีวิตเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ กับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อไม่ให้การตอบสนองความต้องการในปัจจุบันทำลายโอกาสของลูกหลานหรือคนในอนาคต ที่จะได้มีชีวิตอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ดี ผ่านการทำงานและขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมโดยโปรแกรม ITAP ภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สังกัด สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.)...
Ease park

เคเอเอ็นฯ คลื่นลูกใหม่วงการอสังหาฯ ลุยเปิด Ease park คอมมูนิตี้มอลล์ เจาะกลุ่มลูกค้าย่านรามอินทรา

เคเอเอ็น พร๊อพเพอร์ตี้ บริษัทพัฒนาอสังหาฯ หน้าใหม่ ประเดิมส่งโครงการแรก Ease park คอมมูนิตี้มอลล์ติดถนนรามอินทรา มูลค่า 200 ล้านบาท ชูคอนเซปต์ความเรียบง่ายสะดวกสบาย ผสานกลิ่นอายสไตล์ Industrial โดดเด่นด้วยทำเลศักยภาพ ห่างจากรถไฟฟ้าสายสีชมพูเพียง 100 เมตร พร้อมเปิดให้ลูกค้าได้ใช้บริการในต้นเดือนธันวาคมนี้ คุณธัชชัย ศีลพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เคเอเอ็น พร๊อพเพอร์ตี้ จำกัด เปิดเผยว่า "โดยแรกเริ่มก่อตั้งบริษัท เคเอเอ็น พร๊อพเพอร์ตี้ ขึ้นมานั้น ตั้งเป้าเป็นผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร ทั้งเพื่อการค้าและเพื่อที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม คอนโดมิเนียม...

ISA โครงการพัฒนาวิชาชีพ ครั้งที่ 25/59 “ศึกษาดูงาน เหล็กชุบกัลวาไนซ์ และเยี่ยมโรงงานวีว่า บอร์ด”

0
ขอเชิญสมาชิกสมาคม สถาปนิก นิสิต-นักศึกษา สถาปัตยกรรมเข้าร่วมกิจกรรมทัศนศึกษา หาความรู้ เกี่ยวกับเหล็กชุบสังกะสีกันสนิมแบบจุ่มร้อน และเยี่ยมชมโรงงานผลิตแผ่นไม้อัดซีเมนต์จากสถาบันสถาปนิกสยาม โดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ รับฟังการบรรยายให้ความรู้ระบบป้องกันการกัดกร่อน การเกิดสนิม ให้กับเหล็กอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเยี่ยมชมโรงงานผลิตไม้อัดซีเมนต์ วัสดุใช้งานทดแทนไม้ธรรมชาติ และไม้แปรรูป ISA โครงการพัฒนาวิชาชีพ ครั้งที่ 25/59 “ศึกษาดูงาน เหล็กชุบกัลวาไนซ์ และเยี่ยมโรงงานวีว่า บอร์ด” (วันที่แน่นอนจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง) มกราคม 2560 เวลา 08.00-17.30 น. ณ Union Galvanizer และ Viva...
อาคารเขียว

มหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน ผุดโครงการอาคารเขียวรูปแบบสมาร์ทดีไซน์ ส่งเสริมสุขภาพผู้ใช้

สถาบันสาธารณสุข Milken Institute แห่งมหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน ไม่เพียงให้ความรู้ทางด้านสาธารณสุขผ่านการเรียนการสอนเพียงอย่างเดียว แต่ยังแนะแนวทางเสริมสร้างสุขภาพที่ดีในทุก ๆ วันอีกด้วย บริษัทสถาปนิก Payette Architects จากบอสตัน และ Ayers Saint Gross Architects จากวอชิงตัน ดีซี จับมือกันออกแบบอาคารเชิงวิชาการภายในมหาวิทยาลัย ที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน อาคารเขียว (LEED) ระดับ Platinum ด้วยมูลค่าก่อสร้างกว่า 75 ล้านดอลลาร์ ตั้งอยู่ห่างจากทำเนียบขาวเพียงไม่กี่ช่วงตึก สถาปนิกผู้ออกแบบ ออกแบบให้อาคารดูสวยงาม แปลกตา มีบันไดอยู่กึ่งกลางเพื่อสนับสนุนให้คนหันมาใช้บันไดแทนการใช้ลิฟท์ เพื่อเป็นการออกกำลังกายอย่างง่าย รวมทั้งออกแบบให้มีตู้ขายของอัตโนมัติและมุมกาแฟอยู่ในส่วนห้องครัว...
เขตเศรษฐกิจพิเศษ

เมืองใหม่กับเขตเศรษฐกิจพิเศษ (New Town & Special Economic Zone)

การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล คสช. ทำได้ดีพอใช้ในภาวะเศรษฐกิจโลกผันแปรค่อนข้างมาก ซึ่งวิธีกระตุ้นไม่มีอะไรดีกว่า ‘รัฐบาลลงทุนด้านสาธารณูปโภค’ หรือ Infrastructure เพื่อเป็นโครงสร้างหลักให้ภาคธุรกิจอื่น ๆ เติบโตตาม ในอดีตปี พ.ศ. 2502 รัฐบาลตั้งสภาพัฒนาเศรษฐกิจ (NESDB) เพื่อวางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ในยุคแรกก็ใช้วิธีการสร้างสาธารณูปโภคคือระบบถนนทั่วประเทศ (สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์) ทำให้ไทยเรามีระบบถนนที่ดีที่สุดใน AEC และหลังจากนั้นก็มีโครงการ Mega Project ท่าเรือขนาดใหญ่ โดยจะยกคลองเตยออกไปสู่แหลมฉบัง ให้เป็นเมืองอุตสาหกรรมรอบท่าเรือ เรียกว่า ESB (Eastern Seaboard) นำโดยหัวหอกสภาพัฒน์เหมือนกับโมเดลของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีโตเกียวและเมืองท่าโอซาก้าและทำได้ดีมาก เป็นการกระจายความเจริญจากเมืองใหญ่คือ กทม....
Glasshouse สินธร

Glasshouse @ Sindhorn – ‘OFFICE AT’ รางวัล จากความรักในการทำงาน (ตอนที่ 2)

0
ท่ามกลางหลากหลายโครงการที่มีความน่าสนใจพร้อมรางวัลการันตีมาแล้วมากมายของ OFFICE AT ยังมีอีกโครงการที่มีความโดดเด่นเป็นอย่างมากในเรื่องของโครงสร้าง ซึ่งก็คือ โครงการกลาสเฮาส์แอ๊ดสินธร โดยโครงการนี้ได้รับรางวัล The Special Mention Project in Annual Architizer A+Awards : Mixed Use Categories 2016 และ รางวัลสถาปัตยกรรมที่สมควรเผยแพร่ ของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ประเภทอาคารพาณิชยกรรมและอาคารสำนักงาน ประจำปี พ.ศ. 2559 นี้อีกด้วย “ตึกสินธรตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่าทำเลทองของกรุงเทพฯเลยก็ว่าได้ พื้นที่รวมของอาคารประมาณ 30,000 ตารางเมตร ซึ่งปัจจุบันรูปลักษณ์ภายนอกของตึกสินธรเริ่มล้าสมัยไปแล้ว หากเพียงแค่ปรับปรุงผนังอาคารก็อาจจะไม่เห็นผลที่ชัดเจนมากนัก ด้วยวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของเจ้าของโครงการ จึงตั้งโจทย์ขึ้นมาว่าถ้าหากสามารถสร้างพื้นที่ตรงนี้ให้เป็นแลนด์มาร์คได้ก็คงจะดีไม่น้อยและทำให้พื้นที่นี้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง...

TetraPOT แบริเออร์นวัตกรรมล่าสุด สร้างพื้นที่ป่าโกงกางป้องกันคลื่นตามชายฝั่ง

Sheng-Hung Lee นักออกแบบชาวไต้หวัน บรรเจิดไอเดียคิดค้น TetraPOT คอนกรีตแบริเออร์ป้องกันคลื่นตามแนวชายฝั่งรูปแบบใหม่ โดยเจาะรูกลวงไว้ที่แกนกลางแท่นคอนกรีต พร้อมนำเมล็ดพันธ์โกงกางไปเพาะปลูกไว้ในช่อง เมื่อต้นโกงกางโตจะแผ่รากออกมาเป็นแผงเชื่อมกันเป็นแนว ซึ่งนับว่าเป็นการผสมผสานวัสดุสังเคราะห์กับระบบนิเวศทางธรรมชาติเพื่อป้องกันการกัดเซาะตามชายฝั่งอย่างลงตัว ในปัจจุบันนี้หลายประเทศต่างป้องกันแรงคลื่นกัดเซาะตามชายฝั่งด้วยการใช้ tetrapod ซึ่งเป็นคอนกรีตรูปทรงคล้ายตัวต่อ นำมาวางเรียงกัน โดยสามารถลดแรงคลื่นได้ในระดับหนึ่ง แต่กระนั้น tetrapod ยังนับว่าเป็นวัสดุที่ไม่ยั่งยืนและส่งกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง ด้วยเหตุนี้ Sheng-Hung Lee นักออกแบบชาวใต้หวันจึงได้คิดค้นสร้าง TetraPOT โดยนำรูปแบบของ tetrapod เดิมมาปรับปรุงใหม่พร้อมผสมผสานกับแนวคิดปลูกพืชตามป่าชายเลนเข้าไป ส่งผลให้มีประสิทธิภาพป้องกันแนวชายฝั่งและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไปในตัว ลักษณะรูปแบบของ TetraPOT นั้น จะคล้ายคลึงกับ tetrapod เดิมที่มีสี่ง่าม แต่จะแตกต่างตรงที่มีการเจาะแกนกลางเป็นรูกลวง สำหรับนำเมล็ดพันธุ์โกงกางไปเพาะปลูกไว้ด้านใน และเมื่อนำไปวางเรียงตามชายฝั่ง...