สำรวจ KOJA บ้านต้นไม้ที่ดีไซน์ด้วยแนวคิดที่ยั่งยืนและเคารพธรรมชาติ ที่ฟินแลนด์

“ดีไซเนอร์ส่วนใหญ่ออกแบบในมุมของผู้ใช้งาน แต่ผมเลือกที่จะมองในมุมของสิ่งแวดล้อม” Kristian Talvitie, นักออกแบบชาวฟินแลนด์ ช่วงหลังมานี้ เทรนด์การท่องเที่ยวที่กำลังมาในช่วงนี้ก็คือ “การพักผ่อนแบบใกล้ชิดธรรมชาติ สูดอากาศบริสุทธิ์ ซึมซับวัฒนธรรมของพื้นถิ่น” เห็นได้จากผู้คนที่ต่างหาสถานที่พักผ่อนแบบ Local หาความร่มรื่นที่มาจากธรรมชาติ ลมเย็นพัดผ่านร่างกาย แต่บางครั้งในการก่อสร้างหรือการท่องเที่ยวอาจสร้างรอยเท้าบางอย่างที่ส่งผลต่อธรรมชาติ โดยที่เราไม่รู้ตัว “การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism)” จริงเป็นสิ่งที่นักออกแบบหลายคนพยายามสร้างเงื่อนไขให้มนุษย์พักผ่อนกับธรรมชาติแบบ win-win ทั้งคู่ โดยที่ไม่กระทบซึ่งกันและกัน หลายคนอาจยังไม่เคยได้ยินคำนี้ว่าแท้จริงแล้ว ความหมายและเป้าหมายของมันคืออะไร? วันนี้ BuilderNews หาคำตอบมาให้แล้ว การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism) องค์กรการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations World Tourism Organization: UNWTO) กำหนดหลักการเบื้องต้นในการพัฒนา...

สีสันใหม่วัดอรุณราชวรารามฯ กับการปฏิสังขรณ์ศาสนสถานงานศิลป์ในปี 2565

0
ด้วยประวัติที่เก่าแก่สามารถย้อนได้ถึงรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ‘วัดอรุณราชวรารามฯ’ หรือ ‘วัดแจ้ง’ ผ่านการปฏิสังขรณ์มาหลายยุคหลายสมัย ตั้งแต่การปฏิสังขรณ์พระอุโบสถและพระวิหารในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีที่วัดอยู่ในเขตพระราชวัง การปฏิสังขรณ์กุฏิสงฆ์เพื่อให้พระสงฆ์จำพรรษาได้หลังมีการรื้อกำแพงที่ทำให้วัดอยู่ในเขตวังในสมัยรัชกาลที่ 1 การสร้างอุโบสถและพระวิหารต่อในสมัยรัชกาลที่ 2 การสร้างตึกกุฏิ สร้างมณฑปพระพุทธบาทและสร้างเสริมพระปรางค์ใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 3 การสร้างบุษบกยอดปรางค์และการประดับกระเบื้องลายดอกไม้จากจีนในสมัยรัชกาลที่ 4 การปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่หลังอัคคีภัยในสมัยรัชกาลที่ 5 การปฏิสังขรณ์ปลีกย่อยในสมัยรัชกาลที่ 6 การรับมอบกรรมสิทธิ์ที่ดินเพิ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 7 การทำถนนทำเขื่อนในสมัยรัชกาลที่ 8 การปฏิสังขรณ์ปูชนียวัตถุและถาวรวัตถุ รวมทั้งการก่อสร้างต่าง ๆ ในสมัยรัชกาลที่ 9 และล่าสุดในปี 2565 ได้มีการปฏิสังขรณ์อีกครั้งที่ฐานพระปรางค์ รั้วรอบฐานพระปรางค์ พระวิหารน้อย โบสถ์น้อย ศาลาเก๋งจีนโบราณ และหอไตร ในโครงการ Beger Be Happy สีเบเยอร์สีแห่งความสุข ปีที่...

ถึงเวลาหรือยัง? กับการนำ “สายไฟต่าง ๆ” ลงดิน

ในช่วงเวลาไม่กี่เดือนก่อน เราได้เห็นข่าวเพลิงไหม้บริเวณสายไฟต่าง ๆ บ่อยครั้ง จึงเป็นคำถามที่เกิดขึ้น ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้เลยหรือ? หรือเราจะจัดการอย่างไร ให้ไม่เกิดเหตุการณ์ที่มีความสูญเสีย ดังเช่นเหตุเพลิงไหม้ที่สำเพ็ง ที่กลายเป็นบทเรียนราคาแพงสำหรับการไฟฟ้า ถึงเวลาแล้วหรือยัง กับการนำ “สายไฟเหล่านี้” ลงดิน? เรามาดูกันว่า เสาไฟ 1 ต้น มีสายอะไรพาดอยู่บนนั้นบ้าง? ข้อมูลจากการไฟฟ้าเผยว่า ถนนสายหลักในไทยนั้นจะติดตั้งเสาไฟฟ้า 4 ขนาด ได้แก่ เสาสูง 22 เมตร, 12 เมตร 10 เมตร และ 8.50 เมตร ตามซอกซอยส่วนใหญ่จะเป็นขนาด 12...

เหตุผลทางสถาปัตยกรรมของดวงตาที่จ้องคุณไม่หยุดในอาคารเหล่านี้

0
เมื่อพูดถึงสถาปัตยกรรมสวยงามเก่าแก่ทั้งหลายในทวีปยุโรป สิ่งแรก ๆ ที่คุณนึกถึงคงไม่ใช่ที่ “จ้องตา” ดูเหมือนกำลังวางแผนฆ่าคุณอยู่ เหล่านี้หรอกใช่ไหม? https://www.tiktok.com/@mattcarter153/video/7118340630048214278 “ดวงตา” ที่อยู่บนหลังคาของอาคารมากมายในเมืองซีบีอู (Sibiu) ประเทศโรมาเนียเหล่านี้ เป็นที่มาของชื่อเล่นของเมืองว่า “Seebiu” รูปร่างของมันชวนให้ใครต่อใครนึกถึงดวงตาทีกำลังจับจ้องผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาบริเวณนั้น แต่แท้จริงแล้วอาคารเหล่านี้กำลังควบคุมสอดส่องวินัยเราแบบเดียวกับการ(สร้างความรู้สึกเหมือนถูก)จ้องของดีไซน์คุก panopticon ที่โด่งดัง แบบเดียวกับกล้องวงจรปิดและเทคโนโลยีล้ำสมัยต่าง ๆ ที่ผู้มีอำนาจทั้งหลายใช้เก็บข้อมูลกิจกรรมและพฤติกรรมของเราหรือไม่ หรือเป็นเพียงองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ตอบสนองความต้องการใช้งานเฉพาะถิ่นเท่านั้น คำตอบอาจไม่ได้มีเพียงหนึ่งเดียว “ดวงตาแห่งซีบีอู” (Eyes of Sibiu) คือหน้าต่างหลังคา (dormer) ทรงสี่เหลี่ยมคางหมูที่พบได้มากในเมืองซีบีอู แม้จะเป็นเมืองที่สร้างขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 แต่อาคารที่มีดวงตาเหล่านี้ส่วนมากถูกสร้างขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19 ซึ่งอาจเป็นที่มาของบรรยากาศแบบยุคกลาง (Medieval) และแบบบาโรก...

ทำไมปากกา LAMY ถึงครองใจผู้รักการวาด-เขียน-สเก็ตช์มาอย่างยาวนาน

“ปากกา” ไอเท็มที่ใช้ทำสิ่งสำคัญต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น จดบันทึก, กรอกเอกสาร, เซ็นลายเซ็น, วาดภาพ, สเก็ตช์อัพ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่ต้องใช้ปากกาเกี่ยวข้อง แม้จะเป็นไอเท็มที่ดูสำคัญ แต่ก็เป็นอะไรที่คนใส่ใจน้อยเหมือนกัน ปากกา หากถามถึงชื่อแบรนด์แล้วละก็ หนึ่งในนั้นต้องมีชื่อแบรนด์ของ “LAMY” ปรากฏอยู่ในลิสส์แน่นอน เพราะอะไร LAMY ถึงเป็นปากกาที่ดูพรีเมียม ทั้ง ๆ ที่มองดูแล้วก็ไม่ต่างอะไรจากปากกาแท่งอื่น? ทำไม LAMY ถึงได้เป็นปากกาด้ามโปรดของนักเขียน นักออกแบบหลาย ๆ คน มันมีความพิเศษอะไร? ทำไมทุกคนถึงอยากได้มันมาครอบครอง วันนี้เรามาหาคำตอบกัน จุดเริ่มต้นของ...

เฮอริเทจโฮเต็ล (Heritage Hotel) คืออะไร?

0
นักเที่ยวหลายท่านที่แสวงหาที่พักใหม่ ๆ ในการเดินทางแต่ละครั้งอาจคุ้นชื่อกับโรงแรมหลากประเภทเหล่านี้ ทั้ง บูติกโฮเต็ล (Boutique Hotel), ฮิพโฮเต็ล (Hip Hotel), ดีไซน์โฮเต็ล (Design Hotel) และที่มาแรงสุด ๆ อย่างเฮอริเทจโฮเต็ล (Heritage Hotel) ที่เติบโตขึ้นพร้อม ๆ กับกระแสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในย่านที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม เป็นประโยชน์ทั้งในแง่การอนุรักษ์มรดกชุมชน การแสดงอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรม การท่องเที่ยว และการเพิ่มมูลค่าทางการตลาดของธุรกิจโรงแรม การทำความเข้าใจว่าเฮอริเทจโฮเต็ล (Heritage Hotel) คืออะไร จึงสามารถสร้างประโยชน์ต่อการพัฒนาในทุก ๆ...

“Punsurin House” ความโปร่งโล่งสบายที่ซ่อนตัวอยู่หลังผนังขาวทึบ

0
ตอบโจทย์ทั้งความเป็นส่วนตัวและความโปร่งโล่งสบาย เพราะบ้านที่น่าทึ่งหลังนี้มีด้านนอกเป็นผนังขาวทึบกับช่องเปิดเล็ก ๆ ไม่มาก ตัดกับบรรยากาศภายในบ้านที่กว้างขวาง โปร่ง โล่ง สบาย ทั้งยังร่มรื่นด้วยพืชพันธุ์ที่รายล้อมอยู่ทุกมุม ทำให้ในแง่หนึ่งบ้านหลังนี้ก็สามารถป้องกันแสงแดดและมุมมองจากภายนอกได้ และในขณะเดียวกันก็เปิดรับธรรมชาติให้อยู่สบายอีกด้วย “Punsurin House” เป็นฝีมือการออกแบบของ  “คุณสุเมธ กล้าหาญ” ที่เป็นทั้งลูกเขยของเจ้าของบ้านและสถาปนิกจาก Materior Studio ในพื้นที่ชั้นหนึ่ง เขาสร้างความโปร่งโล่งด้วยการจัดวางพื้นที่กว้างในรูปแบบ Open plan ด้วยโครงสร้างแบบไร้เสา (Long span) ที่ยาวถึง 8 เมตร รวมฟังก์ชันอย่างครบครันสำหรับการนั่งเล่น การทำงาน และการจัดเตรียมอาหาร เคล็ดลับที่สร้างบรรยากาศโปร่งโล่งของเขาคือ ประตูอะลูมิเนียมบานเลื่อนกว้างจากที่ทำหน้าที่เปิดให้แสงเข้าและให้อากาศถ่ายเทสะดวก ด้วยการจัดวางไว้ในทิศที่เข้าสู่สวนใจกลางบ้านในทิศเหนือ-ใต้ ซึ่งเป็นทิศที่ลมพัดผ่าน...

แผงโซลาร์ใครว่าต้องอยู่บนหลังคาเท่านั้น? ส่องนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ที่คุณสามารถเดินเหยียบได้!

0
พลังงานแสงอาทิตย์เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับประเทศที่แดดจ้าดังกลัวว่าเราจะไม่รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ แต่ข้อจำกัดด้านพื้นที่ก็(เคย)เป็นอุปสรรคหนึ่งที่หลายคนไม่สามารถติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ได้ จึงทำให้พลาดโอกาสในการประหยัดค่าใช้จ่ายและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรักษ์โลก แต่วันนี้ขีดจำกัดเดิม ๆ ของการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้เปลี่ยนไปแล้ว ผู้พัฒนามากมายพากันคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ มาเพื่อตอบโจทย์และแก้ไขปัญหาดังกล่าว อย่างแผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่สามารถเหยียบได้ (หรือ “ทางเท้าที่ให้พลังงานแสงอาทิตย์”) นี้ ไม่ว่าจะเป็นอาคารสำนักงาน ที่อยู่อาศัย เมืองอัจฉริยะ ไปจนถึงโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ในทะเล “ทางเท้าที่ให้พลังงานแสงอาทิตย์” จาก Platio ก็สามารถสร้างความงามพร้อมพลังงานสะอาดได้ เป็นมิตรกับธรรมชาติสูงสุด เพราะผลิตจากวัสดุรีไซเคิล อย่าง พลาสติก แก้ว และเศษหินดินทราย มาพร้อมรูปลักษณ์ที่งดงามพร้อมสำหรับการติดตั้งอย่างไม่ต้องแลกกับการใช้พื้นที่ที่มีค่ามากมาย เปลี่ยนสถาปัตยกรรมธรรมดาให้เป็นสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืน เสริมภาพลักษณ์ธุรกิจธรรมดาให้เป็นธุรกิจที่ยั่งยืน ด้วยจุดเด่นที่สามารถติดตั้งเป็นแผ่นปูทางเท้าให้คุณสามารถเดินเหยียบได้เลย Sources https://architectexpo.com/2022/12222/

ปั้น “ซอฟต์พาวเวอร์ไทย” กับ 3 ดีไซน์สถาปัตยกรรมจากเยาวชน

0
เคยสงสัยไหมคนรุ่นใหม่มีมุมมองต่อความเป็นไทยอย่างไร และเคยสงสัยไหมคนรุ่นใหม่มีไอเดียอะไรเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะบ้าง? โครงการประกวดแบบ “Uniquely Thai” Envisioning the 21st Century Bangkok’s Civic Center Architectural Design Competition จากความร่วมมือของสภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (CDAST) และครีเอทีฟ แล็บ (Creative Lab) ภายใต้การสนับสนุนจากบริษัท ซีพี ฟิวเจอร์ ซิตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (CPFC) ระบุวัตถุประสงค์คือเพื่อหาสุดยอดผลงานการออกแบบพื้นที่สาธารณะสำหรับประชาชนหรือ “Civic Center” แห่งอนาคตที่พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้นควบคู่ไปกับความยั่งยืน รองรับความต้องการที่หลากหลายมิติ เข้าถึงวิถีการใช้ชีวิตของคนทุกกลุ่ม...

6 จุดต้องรู้ ก่อนติดตั้งตู้ชาร์จรถ EV ที่บ้าน

0
รถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่พากันเปิดตัวใหม่ ๆ ออกมามากมาย แสดงให้เห็นถึงเทรนด์ทางนวัตกรรมในปัจจุบันเป็นอย่างดี ว่าผู้คนต่างก็กำลังให้ความสนใจ สอดรับไปกับสภาพราคาน้ำมันที่แพงขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นสิ่งที่มาคู่กันอย่างตู้ชาร์จไฟฟ้า (EV Charger) จึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน การติดตั้งตู้ชาร์จไฟฟ้าไว้ที่บ้านเป็นมากกว่าทางเลือกสำหรับความสะดวกสบาย แต่คือทางออกสำหรับตู้ชาร์จที่มีจำนวนไม่มากนักในปัจจุบัน แต่หยุดความคิดที่จะติดตั้งตู้ชาร์จไว้ในบ้านเองไว้ก่อน แล้วเช็ค 6 จุดต้องรู้ ก่อนติดตั้งตู้ชาร์จไฟฟ้า EV Charger ไว้ที่บ้าน ดังนี้ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าภายในบ้านก่อนติดตั้ง เพราะหากติดตั้งระบบชาร์จผิดวิธี ระบบไฟฟ้าในภายในบ้านก็อาจเกิดปัญหาเสียหายขึ้นมาได้ ตรวจสอบขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า เพราะมิเตอร์ไฟฟ้าของบ้านทั่วไปมักจะใช้เป็น 15(45) 1 เฟส(1P) ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งนี้ขนาดของมิเตอร์ที่แนะนำคือ 30(100) เพื่อป้องกันการใช้งานไฟฟ้าที่มากเกินไป...

สถาปนิก-อินทีเรียมาด่วน! DEmark Show 2022 นิทรรศการแห่งไอเดียที่กินพื้นที่ 4 ชั้น ICONSIAM

0
“จะออกแบบได้ดีเราต้องเห็นของคนอื่นแล้วเอามาผสมผสานหรือมาเป็นไอเดีย” เปิดแล้วอย่างเป็นทางการ กับ “Demark Show 2022” นิทรรศการที่รวบรวมงานออกแบบกว่า 400 รายการจากหลากสาขา ก่อนตัดสินรางวัลและส่งเสริมผลงานที่โดดเด่น ถูกใจสถาปนิก อินทีเรีย และผู้สนใจงานออกแบบทุกสาขาแน่นอน เพราะเต็มไปด้วยไอเดียดี ๆ จากทั่วประเทศไทย “สถาปนิกหรืออินทีเรียก็เป็นนักออกแบบ ที่นี่มีสินค้าที่อยู่ในสาขาของอินทีเรีย ก็ดูไอเดียแล้วนำไปปรับใช้ได้ ไม่ใช่ในเชิงเลียนแบบ แต่หมายถึงไอเดียเขา มาดูว่าตอนนี้เขาคิดอะไร มีมุมมองอะไรในฐานะนักออกแบบ มีอะไรที่บางทีเราอาจจะคิดไม่ถึง หรือสำหรับผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ ถ้าจะออกแบบได้ดีเราต้องเห็นของคนอื่นแล้วเอามาผสมผสานหรือมาเป็นไอเดีย หรือเห็นแล้วเราแวบขึ้นมาว่ามันน่าจะมีอะไรในไอเดียของเรา ลูกผมก็เรียนอินทีเรียดีไซน์ ผมจะพูดอยู่ตลอดเวลาว่าพยายามออกไป ไปดูที่เขาออกแบบแล้วก็เก็บเป็นไอเดียแล้วก็มาลองคิดปรับใช้” นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าว ปีที่ 15...

97.52% แล้ว! อุโมงค์ผันน้ำที่ยาวที่สุดในประเทศไทย โครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่

0
ด้วยงบประมาณกว่า 15,000 ล้านบาท สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี ระบุว่าวัตถุประสงค์ของโครงการอุโมงค์ยักษ์นี้คือการแก้ปัญหาการแย่งชิงน้ำของประชาชนและเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดอุทกภัยอีกด้วย โครงการก่อสร้างอุโมงค์ยักษ์ผันน้ำแม่แตง-เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลลงสู่เขื่อนแม่กวงอุดมธารา เริ่มเมื่อปี 2558 ในรัฐบาล คสช. ด้วยความยาวถึง 47 กิโลเมตร อุโมงค์นี้จะผันน้ำส่วนเกินปริมาณ 160 ล้านลูกบาศก์เมตร คาดว่าจะช่วยพื้นที่การเกษตรได้ถึง 76,129 ไร่ ขจัดปัญหาการแย่งน้ำของประชาชนและเกษตรกรที่มีความต้องการใช้น้ำสูงกว่าปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ซึ่งเกิดจากการขยายตัวของภาคชุมชน การท่องเที่ยว เศรษฐกิจ และภาคอุตสาหกรรม หลังพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรี ยุครัฐบาล คสช. สั่งการให้กรมชลประทานเร่งรัดโครงการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเริ่มตอกเสาเข็มขึ้นเมื่อปี 2558 โครงการนี้มีกำหนดเสร็จดั้งเดิมคือปี 2565 นี้...

ย้อนรอย ‘DEmark’ กับ 5 สินค้าออกแบบดีการันตีรางวัลใหญ่ของไทย

0
ผลิตภัณฑ์ไทยดีไซน์ดี ๆ หาได้ที่ไหน? เมื่อประเทศไทยเต็มไปด้วยนักออกแบบมากฝีมือ ในหลากหลายวงการ เช่น นักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ นักออกแบบอุตสาหกรรม นักออกแบบตกแต่งภายใน ฯลฯ แต่ผู้บริโภคจำนวนมากทั้งในไทยเองและที่ต่างประเทศยังไม่ทราบถึงศักยภาพความก้าวหน้าเหล่านั้น โครงการรางวัลสินค้าไทยที่มีการออกแบบดี หรือ Design Excellence Award (DEmark) จึงถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2551 โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อส่งเสริมการส่งออกและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเหล่านั้น โดยให้ความสำคัญกับคุณภาพการผลิต การใช้งาน และแนวความคิดของการออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงความคิดสร้างสรรค์ ประโยชน์ใช้สอย และการคำนึงถึงเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย ตรา DEmark ที่มอบให้กับสินค้าที่ได้รับรางวัล เป็นเครื่องการันตีคุณภาพ ว่าเป็นสินค้าที่มีการออกแบบดีเด่น น่าเชื่อถือ โดยมีรางวัลทั้งหมด 7...

อสังหาฯ มือสอง แห่ลดราคา! ส่งสัญญาณอะไรกับเราบ้าง?

จากข่าวที่แบงก์ต่าง ๆ ยกขบวนเอาอสังหาฯ มือสองมาลดราคาสูงสุดถึง 40% ในแง่ของผู้บริโภคถือเป็นเรื่องดีที่จะได้เป็นเจ้าของอสังหาฯ ในราคาที่ถูก แถมยังมีโปรโมชันอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 0% แต่การแห่ลดราคาแบบนี้อาจส่งสัญญาณอะไรบางอย่าง “ภาวะเงินเฟ้อ” แน่นอนว่าในสถานการณ์โลกที่ยังคาดเดาไม่ได้ ส่งผลโดยตรงกับสถาบันการเงิน ซึ่งล่าสุด อัตราเงินเฟ้อก็ได้มีการปรับเพิ่มขึ้นเป็น 5.0% ถึง 7.0% จากที่คาดการณ์ไว้เดิม 3.5% ถึง 5.5% รวมถึง GDP ในไทยที่ขยายตัวในกรอบ 2.75% ถึง 3.5% จากกรอบเดิมที่ 2.5% ถึง 4.0% สถาบันการเงินที่มีทรัพย์สินรอการขาย (Non-Performing Asset: NPA)...

สุขุมวิทเตรียมตัว! IKEA พร้อมแล้วกับแผนบุกใจกลาง(อีกหลาย)เมือง

0
เพิ่งไม่นานมานี้เอง ที่อิเกีย (IKEA) เปลี่ยนบ้านในโตรอนโตที่คนอาศัยอยู่ได้จริง มาเป็นโชว์รูมแสดงเฟอร์นิเจอร์และสินค้าตกแต่ง ด้วยคอนเซ็ปต์ “Made for downtown living” (สร้างมาเพื่อชีวิตแบบคนเมือง) เพื่อให้สัมผัสสเปซกันจริง ๆ เพื่อโปรโมตอิเกียใหม่ในแบบ urban format store ที่ไม่ต้องเดินทางไกลอีกแล้วเพราะตั้งอยู่ในใจกลางเมือง ล่าสุด คอนเฟิร์มแล้ว “อิเกียสุขุมวิท” เจอกันแน่ที่ศูนย์การค้า Emsphere กับโมเดล ‘City-Centre Store’ โชว์รูมแสดงสินค้าและบริการอื่น ๆ ที่คุณเข้าถึงได้ง่ายขึ้น นับเป็นเรื่องน่าสนใจอย่างยิ่งในแง่สถานที่ตั้ง เพราะอิเกียขึ้นชื่อเรื่องการอยู่ไกลจากตัวเมือง จนมีผู้สังเกตว่าเป็นการใช้หลักจิตวิทยาแบบ Sunk Cost Fallacy คือการให้คนกลัวขาดทุนจากการเดินทางไกลจนต้องซื้อของเยอะ...